จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรม ของผู้บริหารโรงเรียน

Authors

  • สมศรี ทองนุช

Keywords:

Psychological trait, Situational, on Behavior, จิตลักษณะ, สถานการณ์, จิตลักษณะตามสถานการณ์

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบจิตลักษณะ และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน และ 2) เพื่อศึกษาอำนาจ การทำนายพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนด้วยจิตลักษณะ สถานการณ์และจิตลักษณะตาม สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดชลบุรี ที่ได้ รับการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อวัดตัวแปร อิสระ ตัวแปรอธิบายและตัวแปรตาม จำนวน 11 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.83-0.95 วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทางและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารโรงเรียน ที่มีจิตลักษณะ คือ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก หรือ มีความเชื่ออำนาจในตนมาก หรือ มีความตระหนักในการ บริหารโรงเรียนมาก หรือ มีสุขภาพจิตดีมาก เป็นผู้มีพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมมากกว่า ผู้บริหารโรงเรียนประเภท ตรงข้าม พบผลนี้ในกลุ่มรวม กลุ่มอายุราชการน้อยกว่า 25 ปี และกลุ่มประสบการณ์บริหารน้อยกว่า 16 ปี 2) ผู้บริหาร โรงเรียนที่อยู่ในสถานการณ์ที่มีการบริหารแบบประชาธิปไตยมากหรือได้รับการสนับสนุนทางสังคมมาก หรือ มีการเห็น แบบอย่างที่ดีมาก หรือ มีการเปิดรับสื่อมวลชนที่มีประโยชน์มาก เป็นผู้มีพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมมากกว่า ผู้บริหารโรงเรียนประเภทตรงข้าม พบผลนี้ในกลุ่มรวม กลุ่มวุฒิปริญญาตรี และกลุ่มอายุราชการน้อยกว่า 25 ปี 3) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 ตัวแปร คือ สุขภาพจิต การบริหารแบบประชาธิปไตย และการเห็นแบบอย่างที่ดี ส่งผลต่อ เจตคติต่อพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรม ในกลุ่มเพศชาย หรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 ตัวแปร คือ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การสนับสนุนทางสังคม และการเห็นแบบอย่างที่ดี ส่งผลต่อเจตคติต่อพฤติกรรมบริหาร อย่างมีจริยธรรมในกลุ่มรวม กลุ่มเพศหญิง กลุ่มวุฒิสูงกว่าปริญญาตรี กลุ่มประสบการณ์บริหารน้อยกว่า 16 ปี และกลุ่ม โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตเทศบาล หรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 ตัวแปร คือ ความตระหนักในการบริหารโรงเรียน การสนับสนุนทางสังคม และการเปิดรับสื่อมวลชนที่มีประโยชน์ ส่งผลต่อความตั้งใจแสดงพฤติกรรมบริหารอย่างมี จริยธรรมในกลุ่มอายุราชการน้อยกว่า 25 ปี หรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 ตัวแปร คือ สุขภาพจิต การบริหารแบบ ประชาธิปไตย และการเห็นแบบอย่างที่ดี ส่งผลต่อพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมในกลุ่มอายุราชการน้อยกว่า 25 ปี และมากกว่า 25 ปี หรือ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 ตัวแปร คือความตระหนักในการบริหารโรงเรียน การสนับสนุนทาง สังคมและการเปิดรับสื่อมวลชนที่มีประโยชน์ ส่งผลต่อพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมในกลุ่มเพศหญิง และ 4) เมื่อรวมกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะ 4 ตัวแปรสถานการณ์ 4 ตัวแปร และจิตลักษณะตามสถานการณ์ 2 ตัวแปร รวมเป็น 10 ตัวแปร สามารถทำนายพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนได้ 65.70 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มรวม และสามารถทำนายพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมได้สูงสุด 79.60 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มโรงเรียนตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล โดยพบตัวทำนายพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรมที่สำคัญ 4 ตัวแปร คือ การบริหารแบบประชาธิปไตย ความตั้งใจ แสดงพฤติกรรมบริหารอย่างมีจริยธรรม ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และสุขภาพจิตตามลำดับ           The purposes of this research were 1) to study the relationship and compare psychological and situational correlated of the moral administration behavior of school administrators and 2) to study the power of predicting moral administration behavior of school administrator by psychological trait, situation, and psychological situation. The samples were school administrators of the Office of the Basic Education Commission Chonburi Province, which using multi stage sampling with the total of 98 people. The research instruments were 11 rating scale questionnaires to measure independent variables, explanatory variables, and dependent variables. The reliability of the research instrument is 0.83 – 0.95. The statistics used for analyzing the data were three-way ANOVA and multiple regression analysis. The findings of this research were 1) the school administrators with psychological trait who have a high level of future orientation and self-control, or high level of internal locus of control, or high level of school administration awareness, or high level of mental health, have more moral administration behavior than the opposite type of school administrators. These school administrators found in the whole group, the group of working experience less than 25 years and administrative experienced less than 16 years. 2) the school administrators who are in the situation of the high level of democracy administration, or high level of social support, or high level of imitation a model, or high level of mass media exposer, have more moral administration behavior than the opposite type of school administrators. These school administrators found in the whole group, the group of earn bachelor degree and working experienced less than 25 year. 3) The interactions between three variables which are mental health, democracy administration, and imitation a model, effected to attitude towards moral administration behavior in male, or the interactions between three variables which are future orientation and self-control, social support, and imitation a model, effected to attitude towards moral administration behavior in female, earned a degree higher than bachelor degree, administrative experience less than 16 years, and school located in municipal area, or the interactions between three variables which are school administration awareness, social support, and mass media exposer, effected to intention to perform moral administration behavior in the group of administrative experience less than 25 years, or the interactions between three variables which are mental health, democracy administration, and imitation a model, effected to moral administration behavior in the group of administrative experience less than 25 years and more than 25 years, or the interactions between three variables which are school administration awareness, social support, and mass media exposer, effected to moral administration behavior in female, and 4) when combine the four variables of psychological trait, four variables of situational, and two variables of psychological situation, the total are 10 variables can predict moral administration behavior of school administrator of the whole group 65.70 percentage and 79.60 percentage for schools which are located outside municipal area. The important predictors are democracy administration, intension to perform moral administration behavior, future orientation and self-control, and mental health respectively.

Downloads