การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย

Authors

  • สมพร ชาลีเครือ
  • เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
  • สุดา ทัพสุวรรณ
  • สงวนพงศ์ ชวนชม

Keywords:

Model Development, School Networks Administration, Childhood Teacher Networks, Networks Administration Model, การพัฒนารูปแบบ, การบริหารเครือข่ายโรงเรียน, เครือข่ายครูปฐมวัย, รูปแบบการบริหารเครือข่าย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย และ 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย ซึ่งมีการดำเนินการวิจัย 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย โดยได้แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยด้วยรูปแบบบริหารเครือข่ายโรงเรียนจากการสังเคราะห์การ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา การจัดการเครือข่ายและด้านการศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 คน ทั้งนี้ เพื่อให้ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและแนวคิดในการสร้างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษา ปฐมวัย แล้วนำไปตรวจสอบความเหมาะสม ด้วยวิธีจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ตอน ที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย โดยเลือกโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 เครือข่าย เป็นโรงเรียนแม่ข่าย 3 โรงเรียน และโรงเรียนที่สมัครใจร่วมเป็นลูกข่าย 16 โรงเรียน ดำเนินการทดลองตามรูป แบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ทำการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ตามองค์ประกอบของรูปแบบ โดยใช้เครื่องมือแบบประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยผลการวิจัยพบว่า1. รูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ภารกิจเครือข่าย 2) วิธีดำเนินการ 3) องค์กรดำเนินการ 4) การติดตามและประเมิน2. ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 89.72) เมื่อพิจารณาแยกเป็นองค์ประกอบ พบว่า ทั้ง 4 องค์ประกอบ มีความ เหมาะสมมากที่สุด ดังนี้คือ องค์ประกอบที่ 1 ภารกิจเครือข่าย (ร้อยละ 89.13) องค์ประกอบที่ 2 วิธีดำเนินการ (ร้อยละ 88.59) องค์ประกอบที่ 3 องค์กรดำเนินการ (ร้อยละ 96.38) องค์ประกอบที่ 4 การติดตามและประเมิน (ร้อยละ 84.78)           The purposes of this research were 1) to develop administration model of network school providing early childhood education and 2) to assessment the suitability and feasibility of the model.Creation and development of this model were based on the concept that organizations with similar working goals were combined to set up their network with no emphasis on administrative power, but on the following aspects i.e. new relationship management, establishment of good atmosphere of working, assistance of each other, building work inspiration, and administration with three stages of management functions:   Stage 1: The administrative network model created and developed by the schools offering the early childhood education was based on the guidelines of developing the model efficiency synthesized from an interview with five experts of educational administration, network establishment and early childhood educational management. This was done in order to collect the data in relation to contents and concept of establishing a model and manual of using the administrative network model for the school providing the above education.Stage 2: The experiment was carried out by selecting three voluntary samples of networking schools including three main networking schools and sixteen sub-networking schools. The model was tried out by the schools during September-November 2012. The model to assessment the suitability and feasibility by using the tools in line with the required model components. The finding of this study were as follows:1. There were four model components – 1) network missions, 2) procedure, 3) working organizations, and 4) follow-up and evaluation. The model quality evaluated by the experts was found at the highest appropriate level (mean value 4.60).2. The model to assessment the suitability and feasibility totally the highest appropriate level (89.72%). Taking each aspect into consideration, it indicated that the following four components were also ranked at the highest suitability and feasibility level i.e. 1) networks missions (89.13%), 2) procedure(88.59%), 3) working organizations (96.38 %), and 4) follow-up and evaluation (84.78 %) respectively.

Downloads