การเสริมสร้างความหยุ่นตัวทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นที่มาจากครอบครัว เลี้ยงเดี่ยว ด้วยรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ

Authors

  • เพ็ญนภา กุลนภาดล

Keywords:

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, อารมณ์ในวัยรุ่น, การให้คำปรึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบของความหยุ่นตัวทางอารมณ์ และเสริมสร้างความหยุ่น ตัวทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ด้วยรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนวัยรุ่นที่มีอายุ 15-17 ปี ที่มีภูมิลำเนาในภาคตะวันออก มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 1 ที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของความหยุ่นตัวทางอารมณ์ ได้แก่นักเรียนวัยรุ่น อายุ 15-17 ปี ที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว จํานวน 450 คน กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่สอง เป็นนักเรียนวัยรุ่น อายุ 15-17 ปี ที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวจำนวน 30 คน สุ่มอย่างง่ายแบ่ง เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวทางอารมณ์ ส่วนกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มใดๆเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1. แบบวัดความหยุ่นตัวทางอารมณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.952. รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย การปรึกษากลุ่ม 12 ครั้งครั้งละ 90 นาที วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 และสถิติทดสอบความแปรปรวนแบบพหุแบบมีการวัดซ้ำผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ ๒ ของความหยุ่นตัวทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นที่มาจาก ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว พบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความหยุ่นตัวทางอารมณ์ มีความกลมกลืนกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบการมองการณ์ไกล (l = .99) องค์ประกอบ ความเชื่อมั่นในตัวเอง (l = .94) องค์ประกอบความอดทน (l = .98) และ องค์ประกอบการจัดการทางอารมณ์ (l = .89)2. รูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นที่มาจาก ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ประกอบ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดําเนินการ และขั้นยุติการปรึกษา โดยมีการบูรณาการ ทฤษฎีเล่าเรื่องซึ่งเป็นทฤษฏีครอบครัวเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการให้การปรึกษา3. ความหยุ่นตัวทางอารมณ์โดยรวมและรายองค์ประกอบของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่ม ก่อน การทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่ากลุ่มทดลอง มีคะแนนความหยุ่นตัวทางอารมณ์ทั้งในภาพรวมและรายด้านช่วงหลังการทดลอง และติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า การให้การปรึกษากล่มเชิงบูรณาการมีผลทำให้ความหยุ่นตัวทางอารมณ์ ของนักเรียนวัยรุ่น เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น           The purposes of this study were to study Emotional Resilience components and to construct a Intregrative group Counseling model for developing Emotional Resilience of adolescent students. The subjects were Adolescent Students in Secoundary School, Eastern Part of Thailand. They were divided into two groups. The first group consisted of 450 of Adolescent Students in Secoundary School. This group was a representative for Emotional Resilience components study. The second group included 30 subjects Adolescent Students in Secoundary School. They were randomly selected into two groups, i.e., an experimental group and a control group. Each group consisted of 15 students. The instruments were Emotion Resilience Test with reliability coefficient 0.91 and Intregrative Group Counseling Model for enhancing Emotion Resilience.The results of the study were as follows ;1. The confirmatory factor analysis (2 order) has significantly confirmed that the model of Emotional Resilience could be characterized into four factors: Getting along, Confidence, Persistance and Emotional management. These four factors were high loading at the .05 level and could be able to measure the Emotional Resilience factors.2. The Emotional Resilience intregrative group Counseling model consisted of three stages: the initial stage, the working stage and the ending stage. The counseling theories and techniques and also base on Narrative Family Theory and Psychological techniques were applied to enhance the Emotional Resilience of the adolescent students.3. Statistically significant differences in the total Emotional Resilience and each components of the Emotional Resilience of the experimental group existed before and after participated in the group Counseling and the follow up period at .05 level. The results of this study indicated that the Emotional Resilience group Counseling Model was a key factor in increasing positive change in the Emotional Resilience of the adolescent students.4. Statistically significant differences in the total Emotional Resilience and each components of the Emotional Resilience between the experimental group and the control group existed before and after participated in the training group and after the follow up period .05 level.

Downloads