การวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการเรียนวิชาโปโลน้ำของนักเรียนมัธยมปลาย: กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง

Authors

  • ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี
  • ปนัดดา จูเภาล์
  • เกษมสันต์ พานิชเจริญ

Keywords:

Water Polo Course, High School Student, Qualitative Research, วิชาโปโลน้ำ, นักเรียนมัธยมปลาย, การวิจัยเชิงคุณภาพ

Abstract

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการเรียนวิชาโปโลน้ำและปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อ การเรียนวิชาโปโลน้ำ ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมปลาย 27 คน (ชาย 9คน และหญิง 18 คน) ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาโปโลน้ำ ในปีการศึกษา 2559 โดยที่กลุ่มตัวอย่างทุกคนพร้อมผู้ปกครอง สมัครใจลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธี การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การบรรยายเหตุการณ์สำคัญ และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูล แบบอุปนัยด้วยวิธีการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล และตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลโดยวิธีการสามเส้า ผลการวิจัยสามารถสรุปได้เป็น 2 หัวเรื่อง คือ หัวเรื่องแรก ประสบการณ์ในการเรียนวิชาโปโลน้ำ ประกอบด้วย ประสบการณ์ด้านที่ดี ได้แก่ 1) ผ่อนคลายจากความเครียด 2) ทักษะการว่ายน้ำดีขึ้น และ 3) ได้เรียนรู้กีฬาใหม่ และประสบการณ์ด้านที่ไม่ดี ได้แก่ บาดเจ็บจากการเรียน ส่วนในหัวเรื่องที่ 2 ปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อการเรียน วิชาโปโลน้ำ ประกอบด้วยปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน ได้แก่ 1) สระว่ายน้ำอยู่ไกล 2) สระว่ายน้ำชำรุด 3) สิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ 4) จัดตารางเรียนไม่เหมาะสม 5) เวลาในการเรียนน้อยเกินไป และ 6) ผู้เรียน มีปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลดีต่อการเรียน ได้แก่ 1) จำนวนผู้เรียนมีความเหมาะสม 2) เพื่อนร่วมชั้น เรียนที่ดี 3) กิจกรรมการเรียนสนุกสนาน และ 4) มีเจตคติที่ต่อกีฬาทางน้ำ           The purpose of this study was to determine experiences of learning a Water Polo Course and relate factors that influenced learning a Water Polo Course according to the participants’ perception. Participants were 27 high school students (9 males and 18 females) who were enrolling Water Polo course in 2016 academic year. All participants with parent volunteered and signed consent forms to participate in this study. Data were collected by non-participant observation, critical incidence and semi-structured interview. Data were inductively analyzed using a constant comparison method and data triangulation. The result of the research can be reported into 2 themes. The first theme, positive factors of learning experience in a Water Polo Course can be concluded as (1) stress relief (2) improving of swimming skill and (3) learning new kind of sport. Negative factor of learning experience related to learning difficulties was injuring from the course. Second theme, related influential factors on learning a Water Polo Course can be divided into learning difficulties and supportive factors. Learning difficulties were (1) the swimming pool is remotely located, (2) dilapidated swimming pool (3) insufficient facilities (4) inappropriate class schedule. (5) inadequate class duration (6) unhealthy students. Supportive factors were (1) proper numbers of students (2) friendly classmates (3) fun learning activities (4) positive attitude towards water sports

Downloads