การพัฒนาความสามารถทางการเรียนโดยใช้โปรแกรมการสอนสำหรับเด็กที่มีความแตกต่างในชั้นเรียนของนักเรียนเรียนรวมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • อัญชลีพร ลพประเสริฐ

Keywords:

Differences in classroom, learning style, ความแตกต่างในชั้นเรียน, ลีลาการเรียนรู้

Abstract

          การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์สภาพความสามารถในการเรียนรู้และศึกษาความสามารถทางการ เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเรียนรวมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้โปรแกรมการสอนนักเรียนที่มีความแตก ต่างในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนเรียนรวมชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน ที่ ประกอบด้วยผู้เรียนที่มีลีลาการเรียนรู้ทั้งสามลักษณะในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน เป็นการวิจัยแบบการทดลองพัฒนา ที่ใช้แผนการวิจัยแบบการทดลองแบบ Pretest Posttest Control Group Design เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ ทางการเรียนของนักเรียนที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เรื่อง ลีลาการเรียนรู้ และโปรแกรมการสอนนักเรียนที่มี ความแตกต่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า t-test for independent sample พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานคร มีลีลาการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ นักเรียนที่สามารถเรียนรู้ทางสายตาได้ดี (ร้อยละ 69.75) นักเรียนที่สามารถเรียน รู้ทางการได้ยินได้ดี (ร้อยละ 16.00) และนักเรียนที่สามารถเรียนรู้ทางร่างกายได้ดี (ร้อยละ 14.25) โดยแผนการ สอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสง และระบบสุริยะ มีคุณภาพเหมาะสมกับการนำไปใช้อยู่ในระดับดีมากเนื่องจาก มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้ออยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 สำหรับผลการเปรียบเทียบความสามารถทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการสอนสำหรับเด็กที่มีความแตกต่างกับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติ พบว่า ก่อนการทดลองนักเรียนทั้งสองกลุ่มมีความสามารทางการเรียนใกล้เคียงกัน หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับ โปรแกรมการสอนสำหรับเด็กที่มีความแตกต่างมีคะแนนความสามารถทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการ สอนปกติ รวมถึงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01           The purpose of this study was to analyze the learning ability in general and ability to learn science of 4th-grade students in inclusive classes after employing teaching program for children with differences. Participants were 4th-grade students in two classes, whose learning styles can be divided into three types. The difference in terms of student numbers in each type was tiny. This study was an experimental research employing Pretest Posttest Control Group Design to compare learning ability of students in experimental group and control group. The study tools included questionnaire to assess individual learner in terms of learning styles and different teaching programs. The data will be discussed in light of statistics including frequency, percentage, mean and t-test for independent sample. It was found out that 4th grade students in medium-sized schools under Bangkok Metropolitan Administration had three learning styles; visual percepters (69.75%), auditory percepters (16%) and kinesthetic percepters (14.25%). The teaching program for the topic “light and solar system” was proven to be the most applicable as it excelled in index of item and objective congruence (IOC) scoring between 0.80-1.00. When it comes to the comparison between learning ability of the students who were exposed to program for children with differences and that of the students taught with inclusive program, the study revealed that prior to the experiment, the learning ability of two groups was similar. After the experiment, the performance of students who had received special teaching program for children with differences was higher than those who were taught with inclusive program and average scores of the former group were also significantly higher than mean value by .01.

Downloads