วิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการสถานศึกษาอาเซียนทฤษฎี 4 มิติระบบ

Authors

  • วราลี จิเนราวัต
  • ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
  • นรา สมประสงค์
  • อัจฉรา วัฒนาณรงค์

Keywords:

สถานศึกษาอาเซียน, การบริหารจัดการสถานศึกษา, การบริหารการศึกษา, ทฤษฎีระบบ, แผนแม่บทอาเซียน พ.ศ. 2568, องค์การยูเนสโก

Abstract

          บทความนี้นำเสนอแนวคิดและทฤษฎีและสภาพการณ์นำนโยบายการบริหารจัดการสถานศึกษาอาเซียน รับไปปฏิบัติ โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเชิงนโยบายบริหารจัดการสถานศึกษาใน การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินนโยบาย บริหารจัดการศึกษาเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเพื่อหาโอกาสพัฒนาต่อในระยะถัดไปหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2559 ตามกรอบแนวคิดและทฤษฎี 4 มิติระบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 12 แห่ง ที่ได้รับ นโยบายการศึกษาอาเซียนจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ผลการวิจัย พบว่า นโยบายแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยมีที่มาและเป้าหมายนโยบายที่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์การรับนโยบาย ไปปฏิบัติจากการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และสังเกตภาคสนามจากสถานที่จริง ตามกรอบแนวคิดและทฤษฎี 4 มิติระบบ E-I-P-O ของ องค์การยูเนสโกที่พบประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ มิติที่ 1 สิ่งแวดล้อมและบริบท พบว่า ทำเลที่ตั้งสถานศึกษาใกล้ประเทศที่เติบโตเศรษฐกิจมากหรือน้อย ปริมาณเม็ดเงินลงทุนในตะเข็บชายแดน การผ่อนปรนกฎหมายเคลื่อนย้ายแรงงานพลเมืองเสรี มิติที่ 2 ทรัพยากร และปัจจัยนำเข้า พบว่า สถานศึกษาที่มีความสามารถในการแสวงหาทุนชดเชยการดำเนินงานจากมูลนิธิดำเนิน งานได้ดี บุคลิกภาพผู้อำนวยการสถานศึกษาแบบเปิดเผยและคิดสร้างสรรค์และคิดเชิงผู้นำธุรกิจชุมชนมีส่วน สำคัญ ฯลฯ มิติที่ 3 กระบวนการ พบว่า ไม่ได้มีการกำหนดกระบวนการวิธีดำเนินงานให้ชัดเจน ส่งผลผู้บริหารสถาน ศึกษาได้คิดค้นและริเริ่มการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรม สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ แลกเปลี่ยนพัฒนาอบรมครูเองเป็น ส่วนใหญ่ ขาดกระบวนการพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนและระบบจัดการฐานข้อมูลและประชาสัมพันธ์ การจัดสรรหาทุน มิติที่ 4 ผลลัพธ์ พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มียังไม่พร้อมกับการปรับตัวด้านภาษาและการเคลื่อนย้ายไป ต่างประเทศ ต่อมาปี พ.ศ. 2556 ผลลัพธ์การพัฒนาผู้เรียนเป็นไปตามนโยบายอย่างรวดเร็วหากอาชีพผู้ปกครอง ได้รับผลบวกจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอาเซียน           This article presents conceptual framework an investigation on ASEAN educational institution management policy in action The objectives were (1) To study policy concept of management to prepare educational institutions for ASEAN (2) To investigate the best practice and problems after entering ASEAN Community in 2016 with the framework of 4 Factor System theory This study was the qualitative research with the specific and selective sampling 12 pilot schools in ASEAN that adopt ASEAN policy since 2010. There were 37 research participants by field observation and interview techniques. The conceptual Framework Study was based on UNESCO APAC (2011) policy analysis based on 4 Factor System Theory with the significant finding by follows Factor 1: environment and context affects policy application effectiveness. This includes; 1) locations of educational institutions effected the ASEAN adaptability of the school upon the neighboring country economics booming, the amount investment in AEC border the flexibility of legal permission on ASEAN free labor and student mobility at the borders; 3) cross-border relief, etc. Factor 2: Resources and input Factor. It was found that the school with self-funding from the international or local foundation had a great success during 2010-2013, The school leader personality had positive effect were openness creativity and entrepreneurial mindset and being a community heart leader. Factor 3: Process during 2010-2014 was not clearly regulated school directors initiated and formulated curriculum management guidelines and ASEAN media and ASEAN activities and ASEAN teacher development and students recruitment their own. Thai digital media provision and staff exchanges were extremely limited. Factor 4: Output during 2010-2012 showed that learners were not ready. But after 2013, the student outcomes were clearly seen if parents’ occupations were related to ASEAN special economic zone at the borders. Learners accepted differences between races and culture.

Downloads