การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ

Authors

  • จักรภพ กลิ่นหอม
  • วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

Keywords:

Administration, HR, การบริหารจัดการ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, กรมสอบสวนคดีพิเศษ

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา 1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรม สอบสวนคดีพิเศษ และ 3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทั้งนี้ ได้นำแนวคิดการบริหารจัดการที่ประกอบด้วยวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม 5 ด้าน ได้แก่ ความเชี่ยวชาญ มาตรฐานในระดับสากล ความเชื่อมั่น ความซื่อสัตย์ และเกียรติศักดิ์ มาปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดของการวิจัยครั้งนี้          ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็น หลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลจาก ประชากรเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการ ทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.88 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ ที่ระดับ 0.86 ประชากร คือ บุคลากรทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานครของกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวม 1,027 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรดังกล่าวจำนวน 1,027 คน อันเป็นการนำประชากรทั้งหมดมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวม ข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 มกราคม 2559 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้ จำนวน 999 คน คิดเป็นร้อยละ 97.27 ของประชากรทั้งหมด 1,027 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน แบบตัวต่อตัวด้วย แบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง          ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญในเรื่องการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษให้ความสำคัญกับความเชี่ยวชาญของบุคลากรไม่มากเท่าที่ควร 2) แนวทางการ พัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กรมสอบสวนคดีพิเศษควรพัฒนาหรือฝึกอบรมบุคลากรโดยให้ความสำคัญ กับความเชี่ยวชาญที่เกิดจากการศึกษาและการเรียนรู้ที่สั่งสมมา หรือจากการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้าง ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้วย และ 3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษควรกำหนดและนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ประกอบด้วยวิสัย ทัศน์และค่านิยมร่วม 5 ด้านดังกล่าวข้างต้น ไปปรับใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการปฏิบัติงาน โดยยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการดังกล่าวควรเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การกำหนดนโยบายและแผนงานที่ชัดเจน สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ประกอบด้วยวิสัย ทัศน์และค่านิยมร่วม และ 2) การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ประกอบด้วยวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม           Objectives of this study were significantly to explore (1) administrative problems of human resource development of the Special Investigation Department, (2) development guidelines of administration of human resource development of the Special Investigation Department, and (3) administrative strategy of human resource development of the Special Investigation Department. The Vision and Shared Value Administration Concept of 5 aspects: specialty, universal standard, confidence, integrity, and dignity, was applied as conceptual framework of this study.          Research methodology was designed as mixed methods research focusing quantitative research as principal means and supported by qualitative research. The quantitative research was survey research collecting a large number of field data with questionnaires. The questionnaires passed pre-test of validity check at level of 0.88 and reliability check at level of 0.86. Population was 1,027 officers operating in Bangkok of the Special Investigation Department. Sampling size was all the population. Field data collection was operated during January 1-30, 2016, and total 999 completed sets of questionnaire which equaled with 97.27 % of the 1,027 total samples were returned. Data analysis was performed in contingency table with descriptive approach. Descriptive Statistics exercised were mean, standard deviation, multiple regression, and Pearson’s Correlation Coefficient. For qualitative data, in-depth interview and face to face interview of 9 experts with structured in-depth interview form was exercised.          Research results were (1) the main problem of administration, especially on development and personnel training, was the Special Investigation Department’ s less concentration on proficiency of the officers, (2) the main development guidelines of administration were the Special Investigation Department should develop and train the officers by concentrating increasingly on the proficiency stemming from studying and learning accumulation and from working experience, as well as, should also create administrative strategy of human resource development, and (3) the administrative strategy was the Special Investigation Department should create and apply the administrative strategy of human resource development according to the Vision and Shared Value Administration Concept of 5 aspects, as mentioned above, for Key Performance Indicators (KPI). The administrative strategy should, in priority, as follows: 1) formation of explicit policy and plan of human resource development of the Special Investigation Department according to the Vision and Shared Value Administration Concept, and 2) dissemination of knowledge and understanding of human resource development of the Special Investigation Department according to the Vision and Shared Value Administration Concept.

Downloads