การสะท้อนคิดโดยการเขียนบันทึกการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
Keywords:
Reflecting, Journal Writing, การสะท้อนคิด, การเขียนบันทึกการเรียนรู้Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ มีจุดประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การสะท้อน คิดโดยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษา ความสามารถในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์หลัง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียน รู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 2 เรื่อง ความสัมพันธ์ แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน แบบประเมินการเขียน บันทึกการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ กิจกรรมการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่การเรียนรู้ ขั้นที่ 2 การได้รับประสบการณ์ ขั้นที่ 3 การไตร่ตรอง เชื่อมโยงการ สะท้อนคิด ขั้นที่ 4 การสรุปหลักการโดยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ และขั้นที่ 5 การปฏิบัติจริง การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและข้อมูลเชิงคุณภาพโดย วิเคราะห์เนื้อหา บรรยายรายงานผล พบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การสะท้อนคิดโดยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ในการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนสามารถสะท้อนคิดในความรู้คณิตศาสตร์ และเขียนสะท้อนคิด โดยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับพื้นฐานความ รู้ความสามารถของนักเรียนแต่ละคนด้วย 2) นักเรียนมีพัฒนาการด้านความสามารถในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ใน ระดับที่เพิ่มขึ้น ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีมาก และด้านเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี The purposes of this research were 1) to develop Learning activities Reflection by Journal Writing in Mathematics learning activities of Mathayomsuksa 4, and 2) to study the Abilities on Mathematics learning knowledge, Skills and processes of Mathematics, The desirable characteristics and Attitudes to wards Mathematics of learning activity by Journal Writing. The research design was Action Research. The target populations were 30 students of Mathayomsuksa 4 of Sainampheung school under the Royal Patronage of Princess Petcharat Rajasuda on the second semester of academic year 2016. The research instruments used in this study were lesson plan of fundamental mathematics2, unit1; Relationship, Journal writing form, Journal writing assessment form, Skills and processes of Mathematics assessment form, Attitudes to wards Mathematics test, The desirable characteristics assessment form, Mathematics achievement test. The instructional plan that was 5 steps as following: step 1 Introduction to the content, step 2 The experience, step 3 Link thinking with reflection step 4 Summarise the principles by Journal Writing, and step 5 Practicality. Percentage, mean were used in quanititative data analysis and content analysis were used in qualitative data. The results of study found that 1) The students improved the reflection of improvement on Mathematic learning activities by Journal Writing was shown that they were able to reflection Mathematic and to record their own learning procedure, which improve the abilities of Mathematics learning depending on the individual basic knowledge. and 2) The students improved their own Abilities of Mathematics learning. The students’desirable characteristics were excellent level. The students’ attitude towards Mathematices was at good level.Downloads
Issue
Section
Articles