แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ธนันรักษ์ วัชราธร
  • วรวุฒิ เพ็งพันธ์
  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์

Keywords:

การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ, ผู้สูงอายุ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2) สำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผู้ให้ ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 10 คน และการสนทนากลุ่ม ผู้ร่วม สนทนากลุ่มเลือกอย่างเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 8 คน มีดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ทางด้านสุขภาพ 2) เจ้าหน้าที่ทางด้าน การท่องเที่ยว 3) นักวิชาการทางด้านการท่องเที่ยวและการศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และแบบประเด็นการสนทนากลุ่ม วิธีการวิจัยประกอบด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีความต้องการคือ การมีสุขภาพที่ดี (Healthy) การมีส่วนร่วม (Participation) และการมีหลักประกันหรือความมั่นคง (Security) 2) แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีทั้งภายในและภายนอกชุมชนโดย จัดได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวิถีไทย 2) รูปแบบของแหล่งท่องเที่ยวประเภท ธรรมชาติ และ 3) รูปแบบของแหล่งท่องเที่ยวประเภทนันทนาการ 3) แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกได้เป็น 3 มิติ 3.1) มิติด้านสุขภาพ หน่วยงานภาครัฐควร มีนโยบายขยายเวลาการเกษียณอายุราชการเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพทางด้านจิตใจให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าใน ตนเอง เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี คือกลุ่มผู้สูงอายุมีพลัง หรือ ภาวะพฤฒิพลัง (Active aging) เป็นช่วงสูงสุดทั้งในด้านประสบการณ์ ภูมิปัญญา มีพร้อมต่อการทำงาน 3.2) มิติด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยควรมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและกำหนดการ ท่องเที่ยวแบบมุ่งเป้าไปยังผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ 3.3) มิติด้านการศึกษา ชมรมผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ ของผู้สูงอายุ           The objectives of this qualitative research were to study, survey locations and promote for the elderly health tourism demand in Muang District Chonburi province. The sample were 10 elderly residents in Muang District Chonburi Province. Focus group discussion was conducted with purposive selected 8 attendants in 1) Public health government agencies 2) Tourism agencies and 3) Tourism academic officers. The research instruments were interview, health tourism survey and group discussion guidelines. Data collected by in-depth interview, non-participant observation and group discussion. Data were analyzed by the content analysis technique. The results were as follow: 1) The elderly residents in Muang District Chonburi Province’s demand for the elderly health tourism were healthy, participation and security 2) The locations for the elderly health tourism in Muang District Chonburi Province including inside and outside communities were categorized in 3 patterns 1) Thai culture tourism 2) natural tourism 3) recreation tourism 3) The promotion approach for the elderly health tourism in Muang District Chonburi Province can be viewed in 3 dimensions: 3.1) Health dimension: The government agencies should extend the retirement age for encourage the elderly mental health to improve their self-esteem since the elderly age between 60-69 are the group that in active aging which has the most experiences, knowledge and ready to work. 3.2) Tourism dimension: Tourism Authority of Thailand should communicate tourism locations and define tourism plan focus on the elderly and elderly caregiver. 3.3) Educational dimension: The Senior Citizen Club is one of the sources for the elderly health care knowledge sharing.

Downloads