ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

Authors

  • พระมหาสุริยา ฐิตเมธี (โฮมจุมจัง)
  • พัชรี ศิลารัตน์

Keywords:

สงฆ์กับการพัฒนาชุมชน, สงฆ์, กาฬสินธุ์

Abstract

          การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เชิงปริมาณและคุณภาพ มี วัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขต เทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ ต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ของประชาชน จำแนกตามเพศ อายุ และ ระดับการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนา ท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 13 หมู่บ้าน จำนวน 1,431 คน กำหนดขนาดของ กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และค่า IOC = 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความ แตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้ t-test (Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้ F-test (One-way ANOVA)          ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขต เทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากหนึ่งด้าน และระดับปานกลางสี่ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้าน สังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ด้านสาธารณสุข และด้านสิ่งแวดล้อม 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น ที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ของ ประชาชน จำแนกตามเพศ อายุ และ ระดับการศึกษา พบว่า ประชาชน ที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาท ของพระสงฆ์ต่อการพัฒนา โดยรวมและด้านสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนที่เหลือไม่แตกต่างกัน, ประชาชนที่มีอายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการ พัฒนาท้องถิ่น ทั้งโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะของ ประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัด กาฬสินธุ์ เรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อยสามลำดับแรก ได้แก่ ควรมีการเริ่มจัดทำโครงการใหม่ ๆ ใน การประกอบอาชีพให้แก่ประชาชน, ควรมีการเข้าร่วมเป็นตัวแทนภาครัฐในการอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อมของ ชุมชน และควรมีการช่วยเหลือสังคมด้วยการบริจาคปัจจัย หรือวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเมื่อเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ           The research was derived from mixed method research methdodologies between quantitative and qualitative ones with the purposes: 1) to study residents’ opinions on Buddhist monks’ roles in local developments in Tambon Rong Kham Municipality’s authorized area of Kalasin province’s Rong Kham district, 2) to compare the former’s opinions on the latter’s roles in local developments in its authorized area to variables of their genders, ages and educational levels, and 3) to study the former’s suggestions for the latter’s roles in local development in its authorized area. Samples employed for the research comprised 1,431 residents living in thirteen villages in its authorized area. The size of the sampling group was set through Taro Yamane’s table, earning 312 subjects. The tool used for data collection was the rating scale questionnaires, in which each of questions had its reliability amounting to 0.87 and IOC at 1.00. Statistical units utilized for data analyses encompassed percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent Sample) and F-test (One-way ANOVA).          Results of the research have found the following findings: 1) Subjects’ opinions on Buddhist monks’ roles in local developments in its authorized area have been rated at the moderate scales in the overall aspect. When taking each aspect into account in descending order of means, one aspect has been measured at the high scale, our others at the moderate ones, which comprise social, economic, cultural, public health and environmental aspects. 2) Comparative results of subjects’ opinions on Buddhist monks’ roles as classified by differing variables of the former’s genders, ages and educational levels have confirmed that their genders show significant differences in the former’s opinions on the latter’s roles in local developments of environments in the overall aspect and each one, with the statistical significance level at .05. The remaining aspects have proven the opposite. In respect of the former’s ages and educational levels, their opinions as such are of significant differences in the overall aspect and each one, with the statistical significance level at .05. and 3) Suggestions arising from subjects’ opinions on Buddhist monks’ roles in local developments in Tamnbon Rong Kham Municipality’s authorized area of Kalasin province’s Rong Kham district in the descending order of first three frequencies are that: Buddhist monks should: launch a new project for residents to earn a living, take part in preserving environments of communities as a representative of the state sector, and provide assistance to the public by donating money or necessary objects and materials when natural disasters arise.

Downloads