การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยง ความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • พาวา พงษ์พันธุ์
  • วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
  • อาพันธ์ชนิต เจนจิต

Keywords:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์, นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ เชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อ ส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 การดำเนินการวิจัย ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบรูปแบบ การ จัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 26 คน ในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบ t–test          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ ดังนี้ แนวคิดทฤษฎีการ เรียนคณิตศาสตร์ของดีนส์ (Dienes) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการ เรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ขั้นตอนการเรียนการสอนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลรูปแบบการ จัดการเรียนรู้ ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี ค่าความเหมาะสม (IOC) ตามเกณฑ์ที่กำหนด และผลของการใช้รูปแบบพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อม โยงทางคณิตศาสตร์และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียวหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียวหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 80% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          The purposes of the research were to develop an instructional model for enhancing mathematical knowledge connection ability for Mathayomsuksa 2 students , and to investigate the result of the utilization of the instructional model for enhancing mathematical knowledge connection ability for Mathayomsuksa 2 students. There were 5 steps of the research: (1) The study and the analysis of the fundamental data, (2) the design of the instructional model, (3) development the instructional model, (4) trying out of the instructional model and (5) evaluating the developed instructional model. The sample consisted of 26 Mathayomsuksa 2 students at Piboonbumpen Demonstration School Burapha University, who studied in the first semester of the 2015 academic year. The statistics used for data analysis were; means, standard deviation and t-test.          The results of the research were :          1. The instructional model for enhancing mathematical knowledge connection ability for Mathayomsuksa 2 students developed by the author consisted of the following instructional models elements: Dienes’s theory of learning mathematics principles, purposes of instructional models learning contents, learning processes, and steps of the instructional, and implementation.          The evaluation of the instructional model by the experts revealed that the index of consistency of instructional model according to the criteria.          2. Students possessed a higher mathematical knowledge connection ability and students’ mathematics learning achievement after the lesson with a statistical significance at .05 level . The students possessed a mathematical knowledge connection ability and students’ mathematics learning achievement higher than the set 80% criterion after the lesson with statistical significance at .05 level.

Downloads