การพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างรูปแบบการคิด ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • ผลาดร สุวรรณโพธิ์

Keywords:

รูปแบบการคิด, กิจกรรมทางคณิตศาสตร์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการคิดของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ และ 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างรูปแบบการคิดของนิสิตระดับ ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของ รูปแบบการคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 400 คน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ ที่มีคะแนนจากการวัดรูปแบบการคิดในขั้นตอนที่ 1 ต่ำกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 30 จำนวน 40 คน          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่          1) แบบวัดรูปแบบการคิด ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91          2) กิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างรูปแบบการคิด ประกอบด้วย กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ 6 กิจกรรม ใช้ในการเสริมสร้างรูปแบบการคิด ทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที          วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 และสถิติทดสอบ t          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2 พบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของ รูปแบบการคิดของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านหน้าที่ ด้าน รูปแบบ ด้านระดับ ด้านขอบเขต ด้านการโน้มเอียง มีค่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบ มาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถวัดองค์ประกอบของรูปแบบการคิดได้          2. ผลการใช้กิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างรูปแบบการคิดของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษา ศาสตร์ พบว่า หลังจากที่นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อเสริม สร้างรูปแบบการคิดแล้ว มีคะแนนเฉลี่ยรูปแบบการคิดในภาพรวม สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ (X = 5.12 > X = 4.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 4.907, P = .000)           The purposes of this research aim to 1) study the thinking style of undergraduate education students and to 2) develop the thinking style through mathematic activities. The research was divided into 2 phases. First phase was a study of the thinking style’s factors in 400 samples who were undergraduate students from the Faculty of Education, Burapha University. Second phase was the development of the thinking style through mathematical activities in 40 undergraduate students. The experimental group participated in the development of the thinking style through mathematical activities developed by the researcher. The instruments include:          1) The measurement of thinking style developed by the researcher with the reliability at 0.91.          2) The mathematical activities to develop thinking style, consisting of 6 activities developed for 6 times, 90 minutes per session. Data were analyzed using second-order confirmatory factor analysis and t-test. The results were as follows:          1. In CFA results, the model of thinking style consists of 5 dimensions including dimensions of function, form, level, scope and leaning. The model was consistent with empirical data with high standard component in the statistical significance at 0.1 and it can be measured the factors of a thinking style.          2. The results of the development of the thinking style through mathematical activities showed that after the samples had participated in mathematical activities to develop the thinking style, they had an average score of thinking style in overall higher than before attending the event (X = 5.12 > X = 4.81), statistically significant at .05 level (t= 4.907, P = .000).

Downloads