การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชารหัสทางการแพทย์ เรื่อง การตั้งครรภ์การคลอดและระยะหลังคลอด สำหรับนักศึกษาภาควิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

Authors

  • อุทัย ทับทอง
  • อิศรา ศิรมณีรัตน์

Keywords:

Computer, medical records, medical terminology, รหัสทางการแพทย์, คอมพิวเตอร์, เวชระเบียน

Abstract

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนวิชารหัสทางการแพทย์ เรื่อง การตั้งครรภ์ การคลอดและระยะหลังคลอดของนักศึกษาประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียนชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และ สาธารณสุข กาญจนาภิเษก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียนชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ทั้งหมดจำนวน 50 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้มี 2 ประเภท คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชารหัสทางการแพทย์ และแบบ ทดสอบ อิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และการทดสอบค่า t          ผลวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชารหัสทางการแพทย์ เรื่อง การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อน และหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชารหัสทางการแพทย์ เรื่อง การตั้งครรภ์ การคลอดและระยะ หลังคลอดของนักศึกษาพบว่า ผลคะแนนของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังการใช้ และก่อนการใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชารหัสทางการแพทย์ เรื่อง การตั้งครรภ์ การคลอดและระยะหลังคลอด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purpose of this research was to compare the knowledge before and after the use of computer assisted instruction on pregnancy, childbirth and postpartum for students, department of medical records, Kanchanabhishek Institute of Medical And Public Health Technology. The sample was 50 students who studied in the second year of medical record 2017. The research instruments included 2 types which were computer assisted instruction and coding knowledge test. The statistical analysis was frequency, percentage and pair t-test.          The finding found 1. The computer assisted instruction on medical codes on pregnancy, childbirth and postpartum are effective. 2. The difference between mean score before and after using electronic medical education within pregnancy, childbirth, and postnatal period of the students found that the scores of the learners from the post-test test and before using electronic medical education was statistically significant at the 0.05

Downloads