ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
Keywords:
การควบคุมตัวผู้ต้องหา, การฝากขัง, การปล่อยตัวชั่วคราวAbstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมตัวผู้ต้องหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในระหว่างถูกควบคุมตัวในชั้นพนักงานสอบสวน และพนักงาน อัยการก่อนส่งฟ้องศาล เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ กฎหมายต่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน จากการวิจัยพบปัญหาในเรื่อง สิทธิของผู้ต้องหาในการคัดค้านการฝากขัง ในส่วนของสิทธิของ ผู้ต้องหาที่จะคัดค้านการฝากขังนั้น หากผู้ต้องหาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีและไม่มีค่าใช้จ่ายพอที่จะมาชำระ ค่าเช่าหลักทรัพย์ที่จะประกันตนเองนั้น ก็จะเข้าสู่กระบวนการฝากขังของพนักงานสอบสวน ซึ่งผู้ต้องหา สามารถที่จะคัดค้านได้เพียงแค่การฝากขังครั้งแรกเท่านั้น ส่วนครั้งต่อ ๆ ไปไม่สามารถคัดค้านได้ และปัญหา เกี่ยวกับระยะเวลาในการฝากขัง ซึ่งในด้านตัวบทกฎหมายมีการกำหนดเวลาที่ยาวนานเกินไป บางคดีที่มีการ รวบรวมพยานหลักฐานได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ไม่ควรได้รับการฝากขังที่ยาวนานถึงขนาดตามที่ กฎหมายบัญญัติให้ ปัญหาประการสุดท้าย เกี่ยวกับสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาในการอุทธรณ์คำสั่ง ขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการเหมือนกับกระบวนการในชั้นพิจารณาของศาล ให้สมดังเจตนาของกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ข้อเสนอแนะ เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ควรกำหนดให้มีการคัดค้านการฝากขังได้ทุกครั้งในระหว่างที่มีการฝากขังผู้ต้องหา เพราะในบางครั้ง เจ้าหน้าที่อาจบริหารจัดการเวลาไม่พอจึงก่อให้เกิดปัญหาการฝากขังผู้ต้องหาต่อไปอีก โดยมีกฎหมายให้การรับรอง อำนาจหน้าที่ให้กระทำได้โดยคลุมเครือ และควรแก้ไขในเรื่องระยะเวลาในการสั่งขังของศาลในมาตรา 87 โดยการลดระยะเวลาในการขังผู้ต้องหาให้ลดลงตามอัตราโทษทางอาญาที่กำหนด และควรให้มีบทบัญญัติ สามารถที่จะอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวนหรือชั้นพนักงานอัยการได้ เนื่องจากในปัจจุบันไม่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อที่จะเป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ผู้ต้องหาได้รับสิทธิและความเป็นธรรมทางกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน The objectives of this thesis are to study and analyze legal problems in custody of alleged offenders under the Criminal Procedure Code, during the stages of the inquiry official and the public prosecutor before the charges are referred to the Court, in order to find approaches to amending the said law, as to be in compliance with the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560, and to be enforced in an efficient manner consistent with the international human rights law Results of the study find problems with respect to the rights of the alleged offenders to objection against the remand. In a part of the alleged offenders' rights to objection against the remand, if the alleged offenders have poor economic status and do not have the fund sufficient for paying the costs of securities to be used as their bail, the alleged offenders will undergo the remand procedure by the inquiry officials, whereby the alleged offenders are entitled only to objection against the first remand, whereas they are not entitled to objection against the subsequent remands. Secondly, problems concern the term of remand, for which, under the provisions of the law, is prescribed to be too long. For example, in some cases where evidence and witnesses can be easily and swiftly gathered, the alleged offenders should not be detained for terms as long as prescribed by the law. Lastly, problems concern the right to appeal against the order of non-permission for temporary release, because the Criminal Procedure Code does not provide for the alleged offenders with the rights to appeal against the order of non-permission for temporary release in the stages of the inquiry official and the public prosecutor, in the same manner as in the proceeding of the Court, as to follow the spirit of the law, which intends to protect the basic rights and liberty of the people. The recommendation of this study is to amend the provisions in the Criminal Procedure Code, entitling the alleged offenders to objection against each remand, while they are in the custody, because sometimes the officers may manage time insufficiently, leading to problems of further remand of the alleged offenders, whereas the law, which provides with the authority for the officers, is ambiguous, and the term of remand under Section 87 should be amended, thereby reducing the term of remand of the alleged offenders in proportion to the punishable imprisonment term of the alleged offenders, and there should be provisions entitling the alleged offenders to appeal against the order of non-permission for temporary release in the stages of the inquiry official and the public prosecutor, because they are not currently prescribed in the Criminal Procedure Code, in order to improve the law for the alleged offender to equally enjoy the rights and fairness.Downloads
Issue
Section
Articles