การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสมองและการคิด สำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ในโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

Authors

  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
  • ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์
  • จุฑามาศ แหนจอน

Keywords:

สมรรถนะทางสมองและการคิด, โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์, ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

Abstract

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสมองและ การคิดสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือขั้นแรก ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี ขั้นที่สอง การวิเคราะห์กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และขั้นที่สาม วิเคราะห์เปรียบความสามารถคิดบริหาร จัดการตนของนักเรียน และสมรรถนะของครูในการเสริมสร้างจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต กลุ่มตัวอย่างที่เข้า ร่วมการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ จำนวน 4 แห่ง โดยแบ่งเป็นโรงเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมที่ได้จากการวิเคราะห์ในการวิจัยจำนวน 2 แห่ง และโรงเรียนที่ไม่ได้ใช้ชุด กิจกรรม (กลุ่มควบคุม) จำนวน 2 แห่ง เปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่ใช้ชุดกิจกรรม กับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ชุด กิจกรรม ด้วยการทดสอบค่าที เพื่อ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1. นักเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสมอง และการคิด มีความสามารถคิดบริหารจัดการตน ดีกว่า โรงเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          2. ครูในโรงเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสมองและการคิด มีสมรรถนะในการเสริมสร้างจิต 5 ลักษณะเพื่ออนาคต ดีกว่า ครูในโรงเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purposes of this research were to develop plan of learning activity for enhancing brain and mind for primary student. The research procedure consisted of 3 stages as follow; Stage 1: Studying the basic data, ideas, and theories from literatures to develop the activities plan. Stage 2: Analyzing the activities program of teach less learning more project. And stage 3: Analyzing to compare the results of data collection. Participants were four Rajaprajanugroh schools under teach less learning more project. Two schools use activity plan and two schools do not use activity plan (control group). Compare data between groups using activity plans with non-activity groups.          The results of this research revealed that:          1. The executive function of students in the groups use activity plan were significantly higher than control group at the .05 level.          2. The competency to enhancement five mind for the future of teachers in the groups use activity plan were significantly higher than control group at the .05 level.

Downloads