ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ศึกษากรณีความผิดฐานลักลอบขนคนเข้าเมือง
Keywords:
การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน, การลักลอบขนคนเข้าเมืองAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ศึกษากรณีความผิดฐานลักลอบขนคนเข้าเมือง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ดังกล่าวให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านการต่อต้านอาชญากรรม ข้ามชาติที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้ ผลจากการศึกษาพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในเรื่องของการปฏิเสธการเข้าเมืองกับบุคคลซึ่งกระทำความผิดฐานลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ในกรณีที่ทำ ให้เกิดอันตราย การปฏิบัติโดยไร้มนุษยธรรม การแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ยังไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในข้อห้ามสำหรับการเดินทางเข้าประเทศและยังไม่ได้มีการเพิ่มโทษผู้กระทำความผิด ฐานลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในกรณีดังกล่าว นอกจากนี้สำหรับผู้กระทำความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง ก็ยังไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นความผิดในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยปฏิเสธการเดินทางเข้าเมือง กับบุคคลเหล่านี้ ส่งผลให้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติ เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000และพิธีสารต่อต้านการลักลอบขนผู้ โยกย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ค.ศ. 2000 ที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเห็นควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ด้วยการเพิ่มเติมเนื้อหาใน มาตรา 12 ให้ระบุถึงเหตุปฏิเสธในการเข้าเมืองกับบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ในการเป็นผู้ลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาในราชอาณาจักรในกรณีการทำให้เกิดอันตราย การปฏิบัติโดยไร้มนุษยธรรม หรือการแสวงหาประโยชน์ ทางการเงิน หรือวัตถุอื่นจากผู้โยกย้ายถิ่นฐาน และเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 63 ให้กำหนดถึงเหตุเพิ่มโทษสำหรับ ผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง และเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 12 ให้กำหนดเหตุปฏิเสธในการเข้าเมืองหรือเพิกถอน การตรวจลงตรากับบุคคลซึ่งกระทำความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการเข้าเมืองที่ไม่ถูกกฎหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงิน หรือวัตถุอื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งจะทำให้กฎหมาย ดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านการต่อต้าน อาชญากรรมข้ามชาติ และเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ The objectives of this thesis are to study and analyze legal problems in enforcing Enforcing Immigration Act, B.E. 2522: A Case Study of Offense of Smuggling of Persons into the Kingdom, in order to find approaches to amending the said law, as to satisfy the international standard and consistent with the international law against transnational crimes, to which Thailand has been a party and ratified. Results of the study find that Immigration Act, B.E. 2522, does not prescribe exclusion from entering the Kingdom of persons, who have committed offenses of smuggling of persons into the Kingdom, in cases where harm or inhumane treatment arises, or financial benefits or other benefits are sought, as prohibition from entering the Kingdom, and does not increase the punishment against offenders, who commit the offense of smuggling of persons into the Kingdom, in the said cases. Additionally, an offense of passport falsification is not prescribed as an offense in Immigration Act, B.E. 2522, whereas the persons in this category should not be permitted to enter the Kingdom. As such, Immigration Act, B.E. 2522, is not consistent with United Nations Convention against Transnational Organized Crime, A.D. 2000, and Protocol against the Smuggling of Migrants by Land, Sea and Air, A.D. 2000, to which Thailand has been a party and ratified. The recommendation of this study is that Immigration Act, B.E. 2522, should be amended by adding the provisions in Section 12, as to prescribe reasons for exclusion from entering the Kingdom of persons, who have committed offenses of smuggling of migrants into the Kingdom, in cases where harm or inhumane treatment arises to, or financial benefits or other benefits are sought from the migrants, and adding the provisions in Section 63, as to prescribe reasons to increase the punishment against persons, who smuggle migrants into the Kingdom, and adding the provisions in Section 12, as to prescribe reasons for exclusion from entering the Kingdom of persons, who have committed the offense of passport falsification for the purposes of illegal immigration or seeking financial benefits, or other purposes, either directly or indirectly, in order that the said law shall be efficient enforced in manners consistent with the international law against transnational crimes, as recognized by civilized countries.Downloads
Issue
Section
Articles