มาตรการทางอาญาจำเป็น: กับการแก้ไขปัญหาการทุจริตในกิจการภาคเอกชน
Keywords:
มาตรการทางอาญา, การทุจริต, กิจการภาคเอกชนAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการทุจริตในภาคเอกชน 2) เพื่อ ศึกษาความเห็นของผู้แทนกิจการภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาทุจริตในกิจการในมิติทางด้านกฎหมาย และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตภาคเอกชน การวิจัยใช้ แบบสัมภาษณ์ที่นำไปสู่การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อค้นหาข้อมูลตามโจทย์การวิจัยที่มีลักษณะกึ่งบุกเบิก ผู้ให้ข้อมูล สำคัญจากผู้แทนกิจการภาคเอกชน จำนวน 12 กิจการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยวและการ บริการ จังหวัดชลบุรี วิเคราะห์ข้อมูลนำไปสู่ข้อสรุปเชิงพรรณนาจากข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. สภาพปัญหาการทุจริตในกิจการเอกชนพบว่า มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป ตามลักษณะของกิจการทั้งรูปแบบการกระทำ ปัญหาการทุจริตภายในกิจการเอกชนที่เกิดขึ้นในกิจการที่เป็น ผลจากการกระทำทุจริตทั้งที่กำหนดมูลค่าได้และที่กำหนดมูลค่าไม่ได้คือการรั่วไหลของความลับและข้อมูล สำคัญของกิจการ การสูญเสียอำนาจต่อรองทางธุรกิจ การส่งผลให้เสียเปรียบคู่แข่งและคู่ค้า ประกอบกับการ พิจารณาความเสียหายซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจการอย่างรุนแรงได้ 2. ความเห็นของผู้แทนกิจการภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาทุจริตในกิจการในมิติทางด้านกฎหมาย พบว่า ลักษณะการกระทำทุจริตจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของกิจการ ทุกกิจการจะมีช่องว่างและวิธีการให้ สามารถกระทำทุจริตได้ โดยรูปแบบมีความใกล้เคียงกับการกระทำทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ คือการใช้อำนาจหน้าที่ในงานที่ต้องปฏิบัติไปแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อกิจการ โอกาสการกระทำทุจริต ผู้แทนกิจการส่วนใหญ่เห็นว่ากิจการของตนนั้นมีโอกาสให้ลูกจ้างกระทำทุจริตไม่มาก เมื่อประสบเหตุผิดปกติใดๆ กิจการก็จะมีมาตรการหรือระบบในการป้องกันเหตุเหล่านั้น 3. แนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตภาคเอกชน ในกิจการ ภาคเอกชนมีปัญหาการทุจริตที่หลากหลาย ทั้งลักษณะที่ไม่มีความซับซ้อนและถือเป็นความผิดทางอาญาอยู่ แล้ว และลักษณะที่ใกล้เคียงกับการทุจริตภาครัฐที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ อำนาจ หน้าที่ ในตำแหน่งประกอบการกระทำทุจริตซึ่งไม่มีกฎหมายที่มีบทกำหนดโทษทางอาญาใช้บังคับ เมื่อ พิจารณาในประเด็นสถานะของผู้กระทำและผู้ได้รับผลกระทบในกรณีการทุจริตในกิจการเอกชนที่ทั้งสองฝ่าย เป็นเอกชนด้วยกัน แนวทางการกำหนดมาตรการอาญาที่จะเหมาะสมแก่กรณีการทุจริตในกิจการเอกชนอาจ ครอบคลุมถึงประเด็นดังต่อไปนี้ 1. วิธีการเพื่อความปลอดภัยแทนการลงโทษ 2. วิธีพิจารณาคดีที่เหมาะสมกับกรณีและกระบวนการยุติธรรมทางเลือก 3. กระบวนการยุติธรรมก่อนฟ้องคดี The purpose of this study was to examine the status of the problem of private sector corruption; 2.To examine the opinions of private sector representatives towards legal dimensions in solving corruption, and; 3.To posit guidelines for determining legal measures in solving private sector corruption. The research utilizes interviews leading to in-depth examination of the research question in a semi-pioneering style. Key informants were from 12 representatives of 12 firms in tourism and hospitality sector in Chon Buri province whose responses were analyzed using and summarized for descriptive conclusions. It was found that: 1. Private sector corruption took a variety of forms and differed according to the company by form of behavior and type of corporate corruption. In most cases the resulting loss was not high, which resulted in business operators responding on a case-by-case basis. Losses incurred to the company as the result of corruption other than measurable quantities included the leaking of important or secret corporate information; loss of business bargaining power. 2. Corruption differed by company characteristics. Every company had loopholes enabling corrupt practices in a similar manner to the position- and role-based corruption in the public sector. Most company representatives saw their companies as offering little opportunity for employee corruption, reasoning that corruption was not often encountered. When abnormalities were experienced, the company activated measures or systems to prevent reoccurrence. 3. Solutions to private sector corruption were somewhat contrary to their reported responses to actual issues, namely; when criminal law and extra-legal irregularities were found, key informants would negotiate with offenders to reimburse damages and dismiss them. If offenders tried to flee, key informants did not pursue the matter, mostly seeing legal action, pursuing the offender and any other post-hoc procedures as a waste of time, not worth the effort, and as of no value to the company.Downloads
Issue
Section
Articles