การรับรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมในการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด

Authors

  • พรจิรา วิภาดาพิสุทธิ์
  • ปริยา รินรัตนากร

Keywords:

Attitudes, Image Perception, การรับรู้ข่าวสาร, ทัศนคติ, การรับรู้ภาพลักษณ์

Abstract

          วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม ทัศนคติ และการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ทัศนคติ และการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยศึกษา คือ ประชากรเพศ ชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชลบุรี จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 26-35 ปี โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมาก ที่สุด มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-25,000 บาทการรับรู้ ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประชาชนมีการรับรู้โครงการด้านมนุษยธรรมมากที่สุด ทัศนคติที่มีต่อบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศ ไทย) จำกัดอยู่ในระดับดี และมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ด้านชื่อเสียงมากที่สุด          ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พบว่าผู้ที่มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว/ ค้าขาย มีการรับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด โครงการ ด้านการศึกษามากกว่าผู้ที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปในเชิงบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทัศนคติที่มีต่อบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์ ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ด้านชื่อเสียง           The purposes of this research were to 1) study information exposure, attitudes, and the perception of corporate social responsibility (CSR) at Honda Automobile (Thailand) Co., Ltd. 2) to compare the differences between population characteristics and information exposure towards the company's CSR 3) to study the interrelationship between information exposure towards CSR, attitudes, and the company's image perception within Chonburi province. The research sample group was 400 males and females who lived in Chonburi province. The results showed that there are more female respondents than males. The age range is between 26-35 years old. More than half of all samples work in the public companies, have an undergraduate or relevant education level, and earn an income range of 15,001- 25,000 baht per month. Among the company's CSR, the respondents prefer a humanity project the most. The respondents' attitudes towards the company are at an acceptable level. Furthermore, the company has the highest reputation in the image perception category          The results of hypothesis testing found that the self-employed/merchant had higher perceptions towards the company's CSR education project. The information exposure of the company's CSR is related to the respondents' attitudes towards the company. The correlation is at a low level. However, the correlation is statistically significant at the .01 level. Moreover, the respondents' attitudes have no correlation towards the company's reputation.

Downloads