ปัญหาทางกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีอาญาในศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498

Authors

  • ธนบาล ยุพาพินท์
  • สอาด หอมมณี
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

สิทธิมนุษยชน, การดำเนินคดีอาญา, ศาลทหาร

Abstract

          งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับ มาตรการในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 โดยทำการศึกษา ประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการดำเนินคดีอาญาในศาลทหาร กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิ มนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว และกฎหมายต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการ แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ให้มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มากยิ่งขึ้น          ผลจากการวิจัยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 พบว่า การดำเนินคดีอาญาในศาล ทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มีการจำกัดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้เสียหาย ทำให้บางกรณีผู้เสียหายไม่ได้รับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เป็นธรรมจากองค์คณะตุลาการศาลทหาร และอัยการทหารที่ขาดความเป็นอิสระและมีอคติ บางครั้งยังมีการจำกัดสิทธิในการเข้าควบคุมและตรวจสอบ การใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของอัยการทหารอย่างไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับ กฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้          ข้อเสนอแนะเห็นควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 โดย กำหนดการจัดตั้งองค์คณะของตุลาการศาลทหารใหม่ เพื่อให้องค์คณะของตุลาการศาลทหาร มีตุลาการที่มี ความรู้ความสามารถทางกฎหมายมีจำนวนมากกว่าตุลาการที่เป็นนายทหารฝ่ายกำลังพลจะทำให้ผู้เสียหาย ได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นธรรมจากองค์คณะที่มีความรู้ความสามารถทางกฎหมาย รวมถึงปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 โดยกำหนดให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่อยู่ใน อำนาจของศาลทหารมีอำนาจเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลทหาร และให้อำนาจในการยื่นคำร้องขอเข้า ร่วมเป็นโจทก์ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารมีสิทธิเข้าถึงพยานหลักฐาน ในการขอดูสำนวนการสอบสวน และเข้าถึงหลักการควบคุมและตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีและการ ปฏิบัติหน้าที่ของอัยการทหาร และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 โดยการกำหนดให้อัยการทหารมีอำนาจสั่งคดีแทนผู้บังคับบัญชาของอัยการทหาร เนื่องจากผู้บังคับบัญชาของ อัยการทหารส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมาย และขาดความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการพิจารณาสั่งคดี ซึ่งทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เป็นธรรมจากอัยการทหารที่มีความเป็นอิสระใน การพิจารณาสั่งคดี เพื่อปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสากล และให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่าง ประเทศที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้           The objectives of this thesis are to study the background and significance of problems concerning measures for protecting human rights under Act on the Organization of the Court-Martial, B.E. 2498, thereby studying the background and purpose of prosecution to the Court-Martial, international laws on human rights, to which Thailand has been a party and ratified, and foreign laws, in order to be approaches to amend the Act on the Organization of the Court-Martial, B.E. 2498, as to be more efficient in protecting the human rights          Results of the study of the Act on the Organization of the Court-Martial, B.E. 2498, find that prosecution to the Court-Martial under Act on the Organization of the Court-Martial, B.E. 2498, restricts basic human rights of victims, in some cases, deprives the victims of the right to fair trial, because the tribunals of the judges of the Court-Martial and the military prosecutors lack impartiality and have a bias towards victims, and sometimes restrict the rights to regulate and check against discrimination in exercise of discretion in ordering the case and duty performance of the military prosecutors, thus not to comply with the international laws on human rights, to which Thailand has been a party and ratified.          It is recommended that he Act on the Organization of the Court-Martial, B.E. 2498, should be amended, thereby providing with new establishment of the tribunals of the judges of the Court-Martial, in order that the tribunals of the Court-Martial shall comprise the judges, who are knowledgeable and capable of law, in a proportion larger than the judges, who are personnel staff officers, whereby victims shall enjoy fair trial by the tribunals, who are knowledgeable and capable of law, the Act on the Organization of the Court-Martial, B.E. 2498, should be amended, thereby providing that, victims, who are not subject to the jurisdiction of the Court-Martial, shall have the power to institute prosecution to the CourtMartial, and the power to apply for being co-prosecutors, thus to entitle the victims, who are not subject to the jurisdiction of the Court-Martial, to access the evidence in requesting for reviewing the case files, and to access the rights to regulate and check exercise of discretion in ordering the case and duty performance of the military prosecutors, and the Act on the Organization of the Court-Martial, B.E. 2498, should be amended, thereby providing that military prosecutors shall have the authority to order cases in place of superior officers of military prosecutors, because some of the superior officers of the military prosecutors are not knowledgeable of law and lack specialty in consideration for ordering the cases, depriving the victims of the right to fair trial by the military prosecutors, who are independent in ordering cases, in order to amend the law as to satisfy the international standard and comply with the international laws, to which Thailand has been a party and ratified.

Downloads