ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551

Authors

  • ภัคภณ ธนินญาณธร
  • สอาด หอมมณี
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน, ลักลอบขนคนเข้าเมือง

Abstract

          วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ เนื่องจากเห็นว่า ปัญหาการค้ามนุษย์ ในปัจจุบันมีความรุนแรง ซับซ้อน และ เป็นอาชญากรรมข้ามชาติมากยิ่งขึ้น นานาอารยประเทศต่างให้ความสำคัญ มุ่งเน้นดำเนินการกับผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง และให้การคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ให้ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดในการบังคับใช้          ผลการศึกษาพบปัญหาในเรื่อง ความหมายขอบเขตและการคัดแยก“ผู้เสียหาย”หรือ“เหยื่อการค้า มนุษย์” ตามพระราชบัญญัติค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งไม่ได้บัญญัติความหมายของ “ผู้เสียหาย” จากการค้า มนุษย์ไว้ส่งผลต่อการตีความ คำว่าผู้เสียหาย ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ประเด็นที่สอง มาตรา 41 บัญญัติ ให้อำนาจแก่ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและโดยตำแหน่งแล้ว ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินคดีอาญาเป็นผู้เข้ามาตรวจสอบการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนในชั้นเริ่มต้น คดี ย่อมไม่อาจทำให้คดีเกิดประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริงและประเด็นที่สาม มาตรา 37 บัญญัติ ผ่อนผันให้ ผู้เสียหาย อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว และได้รับอนุญาตให้ทำงาน เป็นการชั่วคราวตามกฎหมายได้ แต่ก็เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์เท่านั้น ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ ควรจะคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และเพื่อให้การช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายให้ได้ประโยชน์สูงสุด ข้อเสนอแนะ เห็นควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์คือประเด็น แรกควรบัญญัตินิยามคำว่า “ผู้เสียหาย” จากการค้ามนุษย์ไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ. 2551 เป็นการเฉพาะโดยให้เพิ่มไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ว่า “ผู้เสียหาย” หมายความ ว่า “บุคคลผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้ตกเป็นเหยื่อจากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ แม้บุคคลนั้นจะให้ความยินยอม” ประเด็นที่สองให้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตรา 41 โดยให้ตัดข้อความ “เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอัยการสูงสูด” ออก แล้วแก้ไขใหม่เป็น “เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีอัยการภาค” ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้เสียหายในความผิดฐานเข้ามา ออไป หรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง... ประเด็นที่สาม เสนอให้ปรับปรุง แก้ไข มาตรา 37 โดยให้ตัดข้อความ “เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้” ออก แล้วแก้ไขใหม่เป็น “เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟู การเรียกร้องสิทธิของผู้เสียหาย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจดำเนินการ ให้มีการผ่อนผันให้ผู้เสียหายนั้นอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว และ ได้รับอนุญาตให้ทำงานเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายได้ ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงเหตุผลทางด้านมนุษยธรรมเป็น หลัก”           The objectives of this Thesis are to study legal problems in enforcing Anti-Human Trafficking Act, B.E. 2551, as problems of human trafficking are currently appearing to become more severe, complicated and transnational crimes, civilized countries place importance on the problems and focus on aggressively proceeding against the offenders, and providing with protection and remedy for victims, who are injured by human trafficking, in accordance with the human rights principles, in order to find approaches to amending the said law, as to be consistent with its spirit and achieve the highest efficiency in its enforcement          Results of the study find problems with respect to the definition, scope and screening of the “victim” or “injured party” of human trafficking under Anti-Human Trafficking Act, B.E. 2551, which does not provide with a definition of the “victim” of human trafficking, causing the term “victim” to be translated inconsistent with the spirit of the law. The second issue is that, as Section 41 provides with authority for the Minister of Justice, who exercises the executive power and, by its position, is not an expert in criminal proceedings, to inspect the proceedings conducted by the inquiry officials at the initial stage of the proceedings, therefore, efficiency in the proceedings is not really achieved. Moreover, the third issue is that Section 31 provides with indulgence for the victims in permit to temporarily stay and work in the Kingdom under the law, but only for the purposes of proceedings against the human trafficking offenders, whereas the spirit of the law is to give regards for the human rights principles and to help protecting welfare of the victims, as to achieve the best interest.          The recommendation of this study is that Anti-Human Trafficking Act, B.E. 2551, should be amended. As to the first issue, Anti-Human Trafficking Act, B.E. 2551 should specifically prescribe a definition of the term “victim” of human trafficking, thereby adding to Section of the Act that “victim” means “A person, who is injured by or falls victim to any act of exploitation, even though the person has given consent to the act”. As to the second issue, Section 41 should be amended, thereby removing the phrase “Unless a written permission is granted by the Minister of Justice”, and replacing it with “Unless a written permission is granted by the Regional State Attorney, the inquiry official shall be barred from taking legal proceedings against any victim on the offense of entering, leaving, or residing in the Kingdom without permission under the law on immigration...” As to the third party, Section 37 is suggested to be amended, thereby removing the phrase “For the purposes of taking legal proceedings against the offender under this Act”, and replacing it with “For the purposes of provision of medical treatment, the rehabilitation, or the claim for right of the victim, the competent official may assist the victim to obtain a relented temporary stay in the Kingdom and a temporary work permit in accordance with the law, doing so by taking into account the humanitarian reasons”

Downloads