การเสริมสร้างทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่น โดยใช้การฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา
Keywords:
ทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์, วัยรุ่นAbstract
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยดังนี้1) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่นก่อนและหลังเข้ารับการฝึกอบรมเชิง จิตวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทักษะชีวิตในการใช้สื่อ ออนไลน์..ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 134 คน ที่ ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้าง ทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา จ านวน 35 คนที่ได้จากมาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์โดยมีคะแนนทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์ต่ำกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามทักษะชีวิตในการใช้สื่อ ออนไลน์และโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์สถิติที่ใช้ในการในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนแบบทดสอบทักษะชีวิตในการใช้ สื่อออนไลน์ของวัยรุ่นก่อนและหลังการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาโดยใช้t-test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า ทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์โดยรวมของวัยรุ่นก่อนและหลังเข้ารับการฝึกอบรมเชิง จิตวิทยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05..โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม แสดงว่า การฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาทำให้วัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการใช้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น The purpose of this research are 1) to study of life skills of adolescence’s cyber network using and 2) to compare of life skills of adolescence’s cyber network using before and after received the psychology training. The samples of research were two groups; group one studied the life skills of a cyber network using of one hundred and thirty four of graduate students from the Faculty of Education, Burapha University, using cluster sampling. Group two had training to strengthening the life skills of cyber network using thirty five of graduate students selected purposive sampling from group one which receive the least points and voluntered for the research. The instruments were the life skills of a cyber network using questionnaires and the life skills in a cyber network using psychology training program. The statistics employed were descriptive statistics by mean, standard deviation and comparative before and after analysis the psychology training using a t-test for dependent samples. The results showed that statistically significant different at .05 level of life skills of a cyber network of experimental group existed before and after participated the psychology training.Downloads
Issue
Section
Articles