รูปแบบการบริหารจัดการของโรงเรียนปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามหลักธรรมาภิบาล

Authors

  • รัชณีย์ เจริญนนท์
  • พระครูวิจิตร ปัญญาภรณ์
  • พระครูสังฆรัก ชยรตโน
  • เอนก ศิลปะนิลมาลย์
  • อุดม พิริยสิงห์

Keywords:

การบริหารจัดการ, หลักธรรมาภิบาล, โรงเรียนพระปริยัติธรรม, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและรูปแบบการบริหารจัดการของโรงเรียนพระปริยัติ ธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามหลักธรรมาภิบาล 2) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรใน โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2555 จำนวน 276 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยคำนวณหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่า ระหว่าง 0.67-1.00 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการของโรงเรียนปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตาม หลักธรรมาภิบาล ตามสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการ ของโรงเรียนปริยัติธรรมในเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก (  =3.65, SD= 0.85) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักความโปร่งใส (  =3.87, SD= 0.91) และรองลงมา คือ ด้าน หลักการมีส่วนร่วม ( =3.75, SD= 0.86) ด้านหลักความคุ้มค่า (  =3.70, SD= 0.84) การบริหารงานวิชาการ (  =3.66, SD= 0.83) ตามลeดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ คือ ด้านการบริหารงบประมาณ (  =3.44, SD= 0.85)          รูปแบบการบริหารจัดการของโรงเรียนปริยัติธรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามหลัก ธรรมาภิ บาล ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยมีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 เพื่อให้ผลการดำเนินงานวิจัยที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงใช้ การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกร่วมกับการประชุมกลุ่มย่อยและผลการวิจัยน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาได้ ซึ่งจะเห็นได้จากรูปแบบที่ได้สร้างขึ้น สามารถนำไปศึกษาวิจัยเป็นรูปแบบเทียบเคียงใช้กับสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งภาครัฐและ เอกชนได้           The objectives of the research were 1) to study the situation and pattern of the administration, based on the principle of good governance, of Buddhist study schools in the Northeastern region, 2) to propose the model for the administration of Buddhist study schools in the said region. The samples comprised 276 persons of small Buddhist study schools of Formal Education Division in the Northeast in the Fiscal Year of 2012 (2555). A constructed 5-level rating scale questionnaire with IOC of0.67-1.00 together with a framed interview sheet was used as a tool to collect data. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation.          The results of this study were as follows:          1) The present situation and the pattern of the administration of Buddhist study schools in the Northeastern region, based on the principles of good governance, were, in an overall aspect, found to be at the ‘Much’ level (with =3.65; SD=0.85). Individually ranked from the top down to the bottom, they were led by the aspect of transparency (  = 3.87, SD =0.91), and followed by mutual participation (  = 3.75, SD = 0.86), cost coverage (  = 3.7 , SD = 0.8 4 ) ,academic management (  = 3.66, SD = 0.83) and budget management (  = 3.44, SD = 0.85), respectively.          2) The administration of Buddhist study schools in the Northeastern region, based on the principles of good governance, was found to feature suitability and feasibility of all factors and indicators, with mean lying at 3.5 upward and quartile range at 1.50 downward.          3) It was proposed that the in-depth interview should be used in line with the group discussion in order that the research would produce much clearer and most effective results. And the model which was constructed could be implemented in the case of both primary and secondary public and private schools.

Downloads