การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Authors

  • มณีนุช พรหมอารักษ์
  • รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม

Keywords:

คณิตศาสตร์, การศึกษาและการสอน, พฤติกรรมการเรียน., การปรับตัวด้านการเรียน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และตรวจสอบ ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,005 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi– Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชา คณิตศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่ปรับแก้มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับที่ยอมรับได้ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 560.32, ที่องศาความเป็นอิสระ เท่ากับ 140, ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ 4.00, CFI เท่ากับ 0.99, GFI เท่ากับ 0.96, AGFI เท่ากับ 0.91, RMSEA เท่ากับ 0.055 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการปรับตัวด้านการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 94 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลตรงต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มี อิทธิพลทางอ้อมต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปรนิสัยทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ตัว แปรเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปรเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purposes of this research were to study the development of a causal relationship model of adaptation for mathematics study of the fourth level, the secondary educational service area office 18. The sample were 1,005 students which selected by using a multi-stage random sampling technique. The instrument was questionnaire. Data were analyzed by using SPSS and Lisrel 8.72 program to confirm the validity of model and analyzed the developed structural equation model. The results indicated that the model fit to the empirical data indicating by Chi-Square = 560.32, df = 140, c2 /df = 4.00, CFI = 0.99, GFI = 0.96, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.055 All variables in the model can explain the variance of Adaptation for mathematics study at 94 percentage. The Motivation and Adversity quotient were directly influenced Adaptation for mathematics study with significance at .05. The Habits, Attitude and Future orientation were indirectly influenced Adaptation for mathematics study with significance at .05. The Attitude and Motivation both directly and indirectly influenced Adaptation for mathematics study with significance at .05.

Downloads