มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินการกับผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาในคดียาเสพติดตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519

Authors

  • ปฐวี ชีวางกูร
  • สอาด หอมมณี
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

การควบคุมตัว, ผู้ต้องหา, การทรมาน

Abstract

          ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการให้อำนาจเจ้าพนักงาน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในการควบคุมตัวผู้ถูกจับก่อนส่งให้พนักงานสอบสวนตามกฎหมายไทยเพื่อให้ สอดคล้องกับหลักสากลและหลักสิทธิมนุษยชน ศึกษามาตรการทางกฎหมาย และความเหมาะสมของการบังคับใช้กฎหมาย ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายไทย ให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่าง ประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง (ICCPR) และสภาพปัญหา ตลอดจนข้อจำกัดของกฎหมายในการควบคุมตัวผู้ถูกจับ ในชั้นก่อนพนักงานสอบสวน เพื่อหาแนวทางในการบังคับ ใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี(CAT)          ผลการวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519มาตรา 14 (3) ประกอบ มาตรา 15 ให้อำนาจเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สามารถควบคุมตัวผู้ถูกจับเป็นระยะเวลา 3 วัน โดยมิได้จำแนกประเภทคดีและพฤติการณ์การกระทำผิดของผู้ถูกจับซึ่งมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้ ระบุถึงหลักเกณฑ์การแจ้งสิทธิพื้นฐานของผู้ถูกจับและตามมาตรา 14(6) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้ระบุถึง หลักเกณฑ์ การสอบปากคำของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา          ข้อเสนอแนะของการวิจัยเห็นควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความเหมาะสมกล่าวคือ ในการควบคุม ตัวผู้ถูกจับเป็นระยะเวลา 3 วันนั้น ให้ควบคุมเฉพาะผู้ถูกจับได้ในกรณีการมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และตามพฤติการณ์แห่งคดี ส่วนในเรื่องสิทธิของผู้ถูกจับและการ สอบถามปากคำผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นให้เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา           The objectives of this Thesis are to study and analyze concepts and theories relating to empowerment of the narcotics control officer to keep a captive in custody before sending the captive to the inquiry official under Thai law, in order to be consistent with the international principles and human rights principles, study legal measures and suitability of law enforcement in preventing and solving narcotics problems under Thai law, as to comply with the international law on human rights under International Covenant on Civil and Political rights (ICCPR), and nature of the problems, as well as limitations of law on custody of the arrested person in the stage before the inquiry official, for approaches to more efficient enforcement of the law relating to narcotics, and to be consistent with the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT)          The research yields results that Narcotics Control Act, B.E. 2519, Section 14 (3), in conjuncture with Section 15, empowers the Narcotics Control Officer to keep a arrested person in custody for a period of 3 days regardless of categories of cases and circumstances of offenses of the arrested person, and Section 15 of the said Act does not stipulate the rule of notifying an arrested person about its basic rights, and Section 14 (6) of the said Act does not stipulate the rules of inquiring the arrested person or the suspect.          Recommendations of the research are that the law should be amended for suitability. That is to say, keeping an arrested person in custody for a period of 3 days can be done only in a case where the arrested person has narcotics in its possession for distribution under Narcotics Act, B.E. 2522 (1979), and under specific circumstances of the case. With respect to rights of an arrested person and inquiry of the arrested person or the suspect, the proceeding shall comply with the criminal procedure law.

Downloads