การวิเคราะห์ทักษะทางการเงินกับการเป็นหนี้ของข้าราชการครูในเขตภาคกลาง

Authors

  • ธนพร ภู่พันธ์
  • ปรีชา วิจิตรธรรมรส

Keywords:

ทักษะทางการเงิน, การเป็นหนี้, ข้าราชการครู

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับทักษะทางการเงินของข้าราชการครู (2) ศึกษาการเป็นหนี้ของข้าราชการครู และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการเงินกับการเป็นหนี้ของข้าราชการครูโดย ทำการศึกษาตัวอย่างข้าราชการครูในเขตภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 771 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ตอนคือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การวัดความรู้ทางการเงิน ตอนที่ 3 การวัดพฤติกรรมและทัศนคติทางการเงิน และตอนที่ 4 การวัดรูปแบบการเป็นหนี้ ผลการวิจัยพบว่า (1) คะแนนเฉลี่ยของทักษะทางการเงินแยกตาม องค์ประกอบทั้ง 3 ด้านมีค่าดังนี้ คือ ด้านความรู้ทางการเงินเท่ากับ 2.81 คะแนน ด้านพฤติกรรมทางการเงินเท่ากับ 4.23 คะแนน และด้านทัศนคติทางการเงินเท่ากับ 2.91คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนทั้งสามด้าน) (2) ข้าราชการครู ร้อยละ 21.90 ไม่เคยมีประวัติการเป็นหนี้ ข้าราชการครู ร้อยละ 78.10 มีประวัติการเป็นหนี้ ในจำนวนนี้มีข้าราชการครู ร้อยละ 42.03 ที่ได้ชำระหนี้สินเรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีข้าราชการครู จำนวนร้อยละ 57.97 ที่ยังมี ภาระหนี้สินอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนหนี้รวมมีค่าเท่ากับ 349,540,000 บาท โดยวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม 3 อันดับแรกเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 37.97 เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ร้อยละ 36.10 เพื่อซื้อ ยานพาหนะ ร้อยละ 24.87 แหล่งเงินกู้ที่ข้าราชการครูนิยมกู้เงินมากที่สุดคือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ธนาคารออมสิน และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 82.09, 8.02 และ 4.18 ตามลำดับ (3) ข้าราชการครูที่ไม่มีประวัติการเป็นหนี้มีค่าเฉลี่ยทางด้านความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงินมากกว่าข้าราชการครูที่มีประวัติการเป็นหนี้แต่ ทางด้านทัศนคติทางการเงินกลับพบว่าข้าราชการครูที่มีประวัติการเป็นหนี้กลับมีค่าที่สูงกว่าข้าราชการครูที่ไม่มี ประวัติการเป็นหนี้ นอกจากนี้ การใช้ Logistic Regression เพื่อหาความสัมพันธ์ของทักษะทางการเงินและการเป็น หนี้ทำให้ทราบว่า องค์ประกอบของทักษะทางการเงินที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้มีเพียง 2 องค์ประกอบคือ ความรู้ทาง การเงินและทัศนคติทางการเงินเท่านั้น           The purposes of this research were to study of teacher’s Financial Literacy, study of teacher’s debt and study of the relationship between Financial Literacy and teacher debt. The study was conducted by a sample of teachers in the Central Region. Under the Office of the Basic Education Commission, the Primary of Education Service Area and the Secondary 771 persons. The data collection tool was a questionnaire, consisting of four parts, namely, Part 1, Initial Data of Respondents, Part 2, Measurement of Financial Literacy, Part 3, Measurement of financial behavior and attitudes, and the last is Measurement of Debt Patterns. The results of the study revealed that: (1) the average score on Financial Knowledge was 2.81 points, 4.23 points for financial behavior and 2.91 points for financial attitude (from 5 points). (2) 21.90% of teachers have never had debt history, 78.10% of teachers have a history of debt with only 42.03% have already paid their debts and 57.97% remain unpaid. In addition, the total debt is equal to 349,540,000 baths. Here are the three main reasons why teachers use loans, 37.97% of borrowers want to clear their daily budgets, 36.10% of borrowers want to improve their personal finances in order to apply for a mortgage with a bank and to do extensions for their homes and renovations, and 24.87% of borrowers want to improve vehicles. Here are the top three financial institutions where teacher loan the most loans, Teachers Saving and Credit Cooperative, Government Savings Bank and Commercial Banks, which are accounted for 82.09 percent, 8.02 percent and 4.18 percent, respectively. (3) Although teachers who never had debt history may have greater financial knowledge and financial behavior than teachers who have history of debt. It was found that teachers with debt history had higher values than those with no debt history on a financial attitude. In addition, the use of Logistic Regression to find the relationship between financial Literacy and debt. The only resulted in two compositions which are Financial Knowledge and Financial Attitudes.

Downloads