การสร้างแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2

Authors

  • ดวงฤทัย โอนประจำ
  • เชวง ซ้อนบุญ
  • พงศ์เทพ จิระโร

Keywords:

แบบทดสอบ, ความสามารถ, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2 และเพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ (Norm) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 404 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ฉบับ ๆ ละ 30 ข้อ มี ลักษณะดังนี้ ฉบับที่ 1 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และฉบับที่ 2 เป็นแบบทดสอบต่อเนื่องสอง ขั้นตอน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และนำไปหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงตรง เชิงโครงสร้าง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น และคัดเลือกข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ให้เหลือฉบับละ 20 ข้อ แล้วนำไปหาคุณภาพของแบบทดสอบฉบับจริง          ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ฉบับ ๆ ละ 20 ข้อ ที่ผ่านกระบวนการสร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ ความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของข้อคำถามว่าตรงตาม จุดมุ่งหมายของการวิจัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 แบบทดสอบทั้ง 2 ฉบับ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.30-0.72 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30-0.78 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน ฉบับที่ 1 มีค่า 0.87 และฉบับที่ 2 มีค่า 0.86 เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบฉบับที่ 1 มีค่าตั้งแต่ T23ถึง T80 แบบทดสอบฉบับที่ 2 มีค่าตั้งแต่ T26 ถึง T80 และเกณฑ์ปกติรวมของแบบทดสอบความสามารถในการให้ เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าตั้งแต่ T23 ถึง T80           The objectives of this research were to construct and find quality a mathematics reasoning ability test for Matthayomsuksa 2 students under Rayong Primary Educational Service Area Office 2 and to construct norms. The population consisted of 404 Matthayomsuksa 2 students of semester 2, academic year 2016, from the schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 2. The research instruments were the 2 tests of mathematical reasoning ability by using 2 item forms each form consisted of 30 items. Test 1 was a multiple-choice test with 4 choices. Test 2 was a two-step continuous multiple-choice test with 4 choices. Both tests had been examined for their quality before they were used, i.e., content validity, construct validity, difficulty values, and discrimination values. The questions of the tests that passed the criteria were reduced to 20 questions per each test. Then, the tests for actual use were reexamined for their quality.          The findings from the 2 tests of mathematical reasoning ability for Matthayomsuksa 2 students, 20 questions per each test, designed in compliance with the standard criteria, indicated as follows. In term of content validity, the expert examined the accuracy and appropriateness of the questions whether or not they were in line with the research objectives. The values of IOC (Index of Item-Objective Congruence) were found from .60 to 1.00 in both tests. Regarding item quality (Quality of questions), Test 1 showed the difficulty values from 0.30-0.72, and the discrimination values from 0.30-0.78. Test 2 showed the difficulty values from 0.30-0.70, and the discrimination values from 0.30-0.73. The reliability values of both tests were calculated based on KR-20, the formula of Kuder-Richardson. Test 1 was with the reliability value at 0.87. Test 2 was with the reliability value at 0.86. The normal criteria of Test 1 presented the values from T23 to T80. The normal criteria of Test 2 presented the values from T26 to T80. The total normal criteria presented the values from T23 to T80

Downloads