การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • สุรีรัตน์ จุ้ยกระยาง
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์
  • ปริญญา ทองสอน

Keywords:

รูปแบบการเรียนการสอน, มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์, ทักษะการคิด, วิจารณญาณ

Abstract

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทาง วิทยาศาสตร์และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ การเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาขึ้น ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพญารามวิทยา จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 25 คน ในภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัด มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ          ผลการวิจัยพบว่า          1. ได้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้(มี 4 ชั้นตอนคือ ขั้นสร้างแรงจูงใจภายใน ขั้นสร้างมโนทัศน์ ขั้นสะท้อนกลับ และ ขั้นการนำมโนทัศน์ไปใช้) และการวัดผลและ ประเมินผล มีดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอนโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.59 และ 0.25 อยู่ในระดับเหมาะสมดี มากที่สุด          2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีค่าเฉลี่ยของแบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยของแบบวัดทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01           There were two objectives of this research. The first was to develop a model of instruction to enhance science concepts and critical thinking skills of Mathayomsuksa 1 students. The second was to study the effect of using that instructional model to determine whether it did enhance science concepts and critical thinking skills of Mathayomsuksa 1 students. The research was conducted on 25 grade seven students from Phayaramwitthaya school in Surin province during the first semester of the 2017 academic year. The research instruments were: 1) The lesson plans. 2) A scientific concepts test., and 3) A critical thinking skills test.          The results of the study were as follows:          1. The instructional model consisted of five components: principles, objectives, content, instructional processes (with four stages: Create internal motivation, Develop concept, reflect on concept, and Apply concept) and evaluation. The model was considered highly appropriate with the mean and standard deviation of 4.59 and 0.25 respectively, as rated by five experts          2. After learning through the developed instructional model, an experimental group of students had an average post test scores for science concepts higher than their pre-test score, at .01 significant level of significance. The experimental group also had an average post test score on critical thinking skills higher than their pretest score, also at .01 level of significance

Downloads