การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการนำทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันสินเชื่อในทางธุรกิจ

Authors

  • ศิวพร เสาวคนธ์
  • นันทพล กาญจนวัฒน์

Keywords:

การพัฒนากฎหมาย, ทรัพย์สินทางปัญญา, หลักประกันสินเชื่อ, ทางธุรกิจ

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิจัยเรื่องการพัฒนาพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ให้มีความชัดเจนและเหมาะสมต่อการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งการวิจัย ครั้งนี้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและประเด็นสำคัญที่ควรจะต้องมีการพิจารณา ปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการรับฟังความคิดเห็น          ผลการวิจัยพบว่า การนำทรัพย์ทางปัญญามาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัติ หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 นั้น มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่อาจก่อให้เกิดการยอมรับและนำไปใช้ใน วงการธุรกิจอย่างแพร่หลายได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบันขาดความชัดเจนและมิได้มีการ วางหลักเกณฑ์และวิธีการที่เป็นสาระสำคัญของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจที่จะ ก่อให้เกิดการยอมรับอย่างเป็นธรรมระหว่างผู้ให้หลักประกันและผู้รับหลักประกันในขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การรับ หลักประกันจนถึงการบังคับชำระหนี้เอาจากหลักประกันใน 5 ประเด็นสำคัญ คือ (1) ประเภทของทรัพย์สินทาง ปัญญาที่นำมาเป็นหลักประกัน (2) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา (3) สิทธิของผู้ให้หลักประกันทรัพย์สินทางปัญญา (4) การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และ (5) ศาลที่มีอำนาจในการดำเนินคดีหลักประกันทรัพย์สินทางปัญญา อันนำมาสู่การวิเคราะห์และจัดทำเป็น “ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ…....” เพื่อปรับปรุง แก้ไข และเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ที่เป็นข้อค้นพบสำคัญของการ ศึกษาวิจัยนี้          นอกจากนั้น การวิจัยครั้งนี้ยังได้เสนอแนะถึงการดำเนินการที่จำเป็นภายหลังการนำร่างกฎหมายตามข้อค้นพบไปประกาศใช้กฎหมาย 4 ประการ คือ (1) การพัฒนาและสร้างตลาดกลางรองรับในการซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา (2) การจัดตั้งหน่วยงานที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา (3) การจัดทำ ข้อมูลการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบ real time (4) การจัดตั้งองค์กรวิชาชีพการประเมินมูลค่า ทรัพย์สินทางปัญญา           This research has objectives to study and do research on development of the Business Security Act, B.E. 2558 (2015) to be clear and appropriate for bringing intellectual property to be used as business security. In this research, the researcher collected data on conditions of problems regarding enforcement of law and important issues appropriate for consideration, improvement, modifying and adding in the Business Security Act, B.E. 2558 (2015), by using methods of qualitative research, comprising documentary research, interview-in-depth and listening to opinions.          From the research result, it was found that in bringing intellectual property to be used as business security under the Business Security Act, B.E. 2558 (2015), there are problems of enforcement of law which is not acceptable and cannot be used widely in business arena. The cause comes from the fact that laws that have enforcement at present time do not have clarity and there is no setting of criteria and methods which are important essence of bringing intellectual property to be used as business security which will be acceptable fairly between security giver and security receiver in several steps, from receiving of the security until enforcement for debt paying from security in five important issues, as follows : (1) type of intellectual property used as security; (2) Evaluation of intellectual property value; (3) right of giver of intellectual property used as security; (4) registration of intellectual property and (5) Court having authority to prosecute regarding intellectual property security, to bring to analysis and making as "Draft of the Business Security Act (No.2), B.E.………" to improve, modify and add to the Business Security Act, B.E. 2558 (2015) which is the important finding of this research.          Furthermore, this research recommended about necessary operation after bringing draft of the law according to the finding to promulgate as law, in four items; (1) Development and creating of central market supporting buying-selling of intellectual property; (2) establishment of working units to study and do research on evaluation of intellectual property value; (3) making of information of registering business security agreement in real time; (4) establishment of professional organizations for evaluation of intellectual property value.

Downloads