ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนด้วยวิธีสอนโดยใช้เกม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • Mengyu Bao
  • รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
  • มณเทียร ชมดอกไม้

Keywords:

วิธีสอนโดยใช้เกม, ความสามารถ, การอ่านออกเสียง, ภาษาจีน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้วิธีสอนโดยใช้เกม (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้วิธีสอนโดยใช้เกมกับเกณฑ์ที่กำหนด และ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน หลังการใช้วิธีสอนโดยใช้เกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 โรงเรียนดาราสมุทรศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จ านวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจาก การเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และใช้วิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนด้วยวิธีสอนโดยใช้เกม จำนวน 4 แผน มีผลการประเมินคุณภาพ แผนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 4.08 จากคะแนนเต็ม 5 โดยผู้วิจัยเป็นผู้สอนด้วยตนเองโดยใช้เวลาแผนละ3 คาบ รวม 12 คาบ (2) แบบทดสอบย่อยท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .76, .70, .72, และ .72 ตามลำดับ และ (3) แบบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .76 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ F-test          ผลการวิจัยพบว่า          1. ความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้วิธีสอน โดยใช้เกมสูงกว่าก่อนการใช้วิธีสอนโดยใช้เกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          2. ความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้วิธีสอน โดยใช้เกมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          3. ความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เก่งปานกลาง และ อ่อนหลังการใช้วิธีสอนโดยใช้เกมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purposes of this research were (1) to compare Chinese Language reading aloud ability for mathayom suksa two students before and after using games teaching method (2) to compare Chinese Language reading aloud ability for mathayom suksa two students after using games teaching method with the criteria set; and (3) to compare Chinese Language reading aloud ability among the smart group, the moderate group and the poor group of students after using games teaching method. The samples used in this study were mathayom suksa 2/8 students at Darasamutr Sriracha School, Chonburi province in the first semester of the academic year 2017, The tools used in this research were (1) four lesson plans having quality 4.08 out of 5 that the researcher self-taught by using 3 periods of 12 periods (2) four quizes having reliability of .76, .70, .72, and .72, and (3) a test of Chinese Language reading aloud having the reliability of .76 . The statistical analysis employed were mean, standard deviation , t-test dependent and F-test.          The research found that          1. Chinese Language reading aloud ability of Mathayomsuksa 2 students after using games teaching method is higher than before that one at the significance of .05 level.          2. Chinese Language reading aloud ability of Mathayomsuksa 2 Students after using of games teaching method is higher than the criteria set at the significance of .05 level.          3. Chinese Language reading aloud ability of Mathayomsuksa 2 Students who are in the smart group, the moderate group and the poor group of students after using games teaching method are not significant at the .05 level.

Downloads