ปัญหาการกำหนดโทษที่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดซ้ำ
Keywords:
การกำหนดโทษ, เด็ก, เยาวชน, กระทำความผิดซ้ำAbstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการกระทำความผิดซ้ำของเยาวชน และศึกษาปัญหาในการใช้กฎหมายที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำของเยาวชนที่มีอายุกว่า 15 ปี แต่ต่ำกว่า 18 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 กรณีที่ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งว่ามีผลต่อการกระทำความผิดซ้ำของเยาวชนหรือไม่ อย่างไร เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต่อไป โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เยาวชนกระทำความผิดซ้ำนั้น มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในตัวเยาวชนเอง ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ สาเหตุการกระทำความผิดซ้ำที่เกิดจากบทลงโทษที่ไม่เหมาะสม และลักษณะของกฎหมายที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของเยาวชน เมื่อเยาวชนกระทำความผิดถูกจับกุมและเข้าสู่กระบวนการ พิจารณาพิพากษา หรือรับการบำบัดฟื้นฟูสำหรับเยาวชนแล้ว มิได้รู้สึกเข็ดหลาบกับการต้องโทษ กลับคิดว่าตนเป็น เยาวชนย่อมได้รับการลดโทษและรับโทษในระยะสั้นก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติและกลับมากระทำความผิดซ้ำอีก ซึ่งในการกระทำความผิดครั้งหลังหรือครั้งต่อๆ มาอาจเป็นการกระทำความผิดเช่นเดิมหรือร้ายแรงกว่าเดิม ข้อเสนอแนะของการวิจัยจึงเห็นควรเพิ่มเติมบทบัญญัติ มาตรา 75 ให้ศาลใช้การกระทำผิดซ้ำของ เยาวชนมาพิจารณาประกอบกับอายุในการลงโทษให้เหมาะสมกับความรู้สึกผิดชอบ พฤติการณ์แห่งคดี และสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้กระทำความผิด ศาลสามารถใช้ดุลพินิจลงโทษเยาวชนที่กระทำความผิดซ้ำโดยมิต้องลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งก็ได้ คณะผู้วิจัยจึงเห็นควรบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 75/1 โดยมีเนื้อความว่า “การลดมาตราส่วนโทษตามมาตรา 75 มิให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีผู้กระทำผิดซึ่งได้กระทำความผิดซ้ำ (วรรคแรก) บทบัญญัติในมาตรานี้ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดี สภาพแวดล้อม ตัวผู้กระผิด ลักษณะแห่งความผิด รายงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นดุลพินิจในการกำหนดโทษ" (วรรคสอง) ซึ่งหากมีการเพิ่มเติม มาตรา 75/1 ดังกล่าวให้ศาลสามารถพิพากษาลงโทษโดยนำพฤติการณ์การกระทำความผิดซ้ำมาประกอบการ พิจารณากำหนดโทษได้ย่อมส่งผลให้เยาวชนที่กระทำผิดซ้ำอาจได้รับโทษจำคุกนานขึ้นจนรู้สึกเข็ดหลาบต่อการ ต้องโทษหรือถูกจำคุกจนมีวุฒิภาวะรู้ผิดชอบเมื่ออายุมากขึ้นและไม่กลับมากระทำผิดซ้ำอีก The objectives of this research are to study problems with recidivism of juveniles, and study problems with enforcement of laws, which affect recidivism of juveniles over 15 years of age but under 18 years of age, under the Penal Code, Section 75, in a case where the Court is required to reduce the scale of the punishment to a half, as to verify whether or not and how it affects recidivism of the juveniles, in order to subsequently find approaches to solving the problems with enforcement of the said laws, by employing qualitative research methods The research results find that the factors, which contribute to the juveniles' recidivism, are both external factors and internal factors of the juveniles themselves, and one of important factors is that a cause of recidivism stems from unsuitable punishments, and nature of the laws, which affect the juveniles' recidivism, is when a juvenile committed an offense, and is arrested and undergoes conviction or rehabilitation, the juvenile does not feel repented by the imposed punishment, but thinks that he or she is a juvenile and will naturally get reduced sentence to serve a short term, and then return to his or her normal life, and recommit offenses, whereby the subsequent offenses may be the same as the previous offense or even more serious. The recommendations of this research is that the Penal Code, Section 75, should be amended to require the Court to take a juvenile's recidivism, along with the age, into consideration for imposing a punishment suitable for the juvenile's sense of responsibility, circumstances of the case and other particulars of the offenders, The Court is allowed to exercise its discretion to impose a punishment on a juvenile recidivist without reducing a half of the punishment. The Author finds that it is advisable to amend the Penal Code, Section 75/1, to be prescribed “Reduction of the scale of punishment under Section 75 does not apply to a case of recidivism (the first paragraph). The provisions of this Section does not prohibit the Court from taking circumstances of the case, environment, the offender's characteristics, nature of the offense, report of the competent official, into consideration for sentencing (the second paragraph).” And if Section 75/1 is so added to empower the Court to take the circumstances and recidivism into consideration for sentencing, it will cause juvenile recidivists to probably serve longer terms of punishment and feel repentant or serve the terms long enough to be more mature, feel more responsibility as they are getting older.Downloads
Issue
Section
Articles