การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพ และเทคโนโลยี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • ดุสิต ขาวเหลือง
  • มานพ แจ่มกระจ่าง
  • แดน ทองอินทร์

Keywords:

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและ เทคโนโลยี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และอาจารย์พี่เลี้ยง ของนิสิตสาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ ประจำหลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นิสิตจำนวน 25 คน ผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยงของนิสิตที่ปฏิบัติการสอนใน สถานศึกษา จำนวน 10 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า        1. ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและ เทคโนโลยีในภาพรวมทั้งหมดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก        2. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยงของนิสิตที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในภาพรวมทั้งหมดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก        3. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี เห็นว่า ปรัชญา วัตถุประสงค์ โครงสร้าง และเนื้อหา รายวิชาของหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีความชัดเจน เหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่ควรปรับเพิ่มจานวนหน่วยกิตของหมวดวิชาเอกเลือก ควรมีการจัดหา เอกสาร ตำรา หนังสือ และสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพิ่มขึ้น และในภาพรวมของคุณภาพนิสิตส่วนใหญ่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร          The purposes of this study were 1) to study level of students ‘opinions towards the Master of Education (M.Ed.) program in occupations and technology teaching, 2) to study level of opinions of administrators, supervisors and related personnel to the performance of students, and 3) to investigate opinions of the experts, lecturers, and the program member committee for the program. The population of the study were categorized into 3 groups i.e. 1) twenty five students from the M.Ed. program in occupations and technology teaching, 2) ten of the administrators, supervisors and related personnel, and 3) three experts, five members of the program committee, and five lecturers. The research instruments were questionnaires and construct interviews          The research findings were summarized as follows:          1. Overall, the level of students ‘opinions towards the Master of Education (M.Ed.) program in occupations and technology teaching were rated at the high level.          2. Overall, the level of administrators, supervisors and related personnel ‘opinions to the performance of students were rated at the high level.          3. The three experts, five members of the program committee, and five lecturers expressed that the philosophy of the program, objectives, structure, and the program courses were appropriateness and practical application. However, the number of credits of the elective major courses should be added. More up-to-date materials and online media used for occupations and technology teaching should be provided. Overall the quality of students from the M.Ed. program in occupations and technology teaching was satisfying, which met achieve the program objectives

Downloads