การปฏิบัติที่ดีโดยชุมชนต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการกัดเซาะ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน
Keywords:
การปฏิบัติที่ดีโดยชุมชน, ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, การกัดเซาะชายฝั่ง, อ่าวไทยตอนบนAbstract
การวิจัยเรื่อง การปฏิบัติที่ดีโดยชุมชนต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตอนบน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพพื้นที่ของชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน 5 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาผลกระทบจาก ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าคุณภาพชีวิต 3) เพื่อศึกษามาตรการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน และ 4) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเพื่อป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเลอ่าวไทยตอนบนโดยชุมชนที่มีการปฏิบัติการที่ดี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้ แบบสอบถามแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการกัด เซาะชายฝั่งทะเล รวม 433 คน อีกทั้งมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แก่ผู้นำชุมชนที่มีการ ปฏิบัติการที่ดีต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่อ่าวไทยตอนบน สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลเกิดจากการทับถมของตะกอนในน้ำ ทะเล และจากตะกอนแม่น้ำสายหลัก ซึ่งตะกอนแม่น้ำสายหลักช่วยเติมตะกอนชายฝั่งให้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับ สภาพพื้นที่เป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรมที่มีการบุกรุกของประชาชนเพื่อการทำนากุ้งหรือนาเกลือ โดยปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรกายภาพในระดับมาก ผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพในระดับน้อย แต่ ส่งผลกระทบในระดับปานกลางต่อชนิดสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำ และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ผลกระทบต่อ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์อยู่ในระดับน้อยแต่ส่งผลกระทบระดับปานกลางต่อพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ เกษตรกรรมหรือพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพื้นที่ป่าสาธารณะ ผลกระทบต่อคุณค่าคุณภาพชีวิตในระดับน้อยแต่ ส่งผลกระทบในระดับปานกลางต่อเศรษฐกิจชุมชนหรือรายได้ อาชีพการประมง การประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และการอพยพย้ายถิ่น สำหรับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนมี มาตรการที่ใช้ดำเนินการในหลากหลายมาตรการ ทั้งมาตรการโครงสร้างแข็ง อันได้แก่ เขื่อนหินทิ้ง ไส้กรอกทราย เสาคอนกรีตชะลอคลื่น เขื่อนปูนฉาบแกนหินทิ้ง เขื่อนกึ่งถนนและแนวปะการังเทียม อีกทั้งมีมาตรการโครงสร้างอ่อนโดยใช้ไม้ไผ่ชะลอคลื่น การปลูกป่าชายเลน ซึ่งมาตรการในการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งจะ ดำเนินการด้วยงบประมาณของภาครัฐ ทั้งนี้มาตรการที่ใช้ส่วนมากจะเป็นไม้ไผ่ชะลอคลื่นและเขื่อนหินทิ้ง แต่ก็ ประสบกับปัญหาไม้ไผ่มีการชำรุดง่าย ส่วนหินทิ้งก็มีการทรุดตัว ส่วนกระบวนการการจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนโดยชุมชน ที่มีการปฏิบัติที่ดีพบว่า ชุมชนหมู่ที่ 10 ต.บางแก้ว อ.เมือง จังหวัดสมุทรสงคราม นับเป็นชุมชนที่มีกระบวนการ เพื่อการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยชุมชน ซึ่งมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งคือ คุณวิสูตร นามศิริ หรือที่ชาวบ้าน และคนทั่วไปรู้จักในชื่อ ผู้ใหญ่แดง โดยผู้ใหญ่แดงนับเป็นผู้นำชุมชนที่ได้ร่วมคิดหารือกับคนที่มีอุดมการณ์หรือมีการ ทำงานที่เข้าใจกันได้ร่วมกันวางแผนในการจัดหาวัสดุหรืออุปกรณ์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ไม้ไผ่ชะลอ คลื่น และมีการปลูกป่าชายเลนโดยคนในชุมชนที่มีส่วนร่วม ทั้งนี้การจัดหาพันธุ์ไม้หรือการซ่อมแซมไม้ไผ่ที่ชำรุด ทำให้พื้นที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ในเวลาต่อมา The objectives of this research were to 1) analyze the coastal conditions of five provinces in the Upper Gulf of Thailand, these were Samut Songkhram Province, Samut Sakhon Province, Bangkok, Samut Prakan Province, and Chachoengsao Province, 2) analyze the impacts of the coastal erosion in the Upper Gulf of Thailand affecting the physical resources, ecological resources, human use values, and quality of life values, and 3) analyze measures of protection and solving coastal erosion in Upper Gulf of Thailand 4) analyze the good practice community management. The researcher used quantitative research methodology. The data received were from the questionnaire and in-depth interviews. The questionnaire were collected to the concerned people on protection and solving, and to persons who received the impact of the coastal erosion total 433 persons. In addition, the researcher had conducted in-depth interview of the head of the good community of practice about the protective and solving coastal erosion measures. The results of the research revealed that the coastal conditions of the Upper Gulf of Thailand was the result of sediment deposition from sea water, and sediment from major rivers. The sediment from major rivers increased coastal sediment, with the fact that those areas became deteriorated swamps where people encroached the areas for shrimp and salt farming. As a result, the problems of coastal erosion in the areas became severe. The problems of coastal erosion affected the physical resources at high level, while they affected the bio-physical resources at low level. However, those problems affected the types, the amount, and the growth of aquatic animals at moderate level. Besides, the coastal erosion affected the values of human use at low level, on the other hand, the coastal erosion affected the residential, the agricultural or the aquaculture, and the public forest areas at moderate level. In addition, the effects of the coastal erosion toward the quality of human life were found at low level. However, the effects toward the community economy or toward the income of those who were in fishery, tourism business, and those who migrated to other area were found at moderate level. In terms of the protective and solving measures on coastal erosion in the Upper Gulf of Thailand, there were varieties of measures both hard and soft measures. Concerning hard measures, these were revetment dam, sand sausage, installation concrete column retaining wall, cement revetment core dam, semi-road dam and artificial coral reefs. In addition, the soft measures were such as installation bamboo retaining wall, swamp afforestation. These measures were operated using the government budget. The majority of the measures used in these areas to protect the impact of the coastal erosion were the installation of bamboo retaining wall and revetment dam. However, both the installation of bamboo retaining wall and the revetment dam had some disadvantages as the bamboo was easily dilapidated and the revetment dam was subsided. In terms of the study of the community management for coastal erosion protection and solving in the Upper Gulf of Thailand by the community with good practice, it revealed that the community of Moo No. 10 Sub-District Bang Kaew, Mueang District, Smut Song Khram was the community that had the best managing process in solving the impact of the coastal erosion by community. This community had the energetic leader, Mr. Wisut Namsiri also known as Phu Yai Daeng. Phu Yai Daeng was the leader who participated in creating and discussing with the group of people consisted who had the same ideology or working attitude. They participated in setting plan to acquire materials or equipment used in coastal erosive protection and solution by installation bamboo retaining wall and swamp afforestation by the participation of people in the community with the supply of the plant varieties or the repair of the dilapidated bamboo helped create fertile swamp.Downloads
Issue
Section
Articles