การส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก

Authors

  • สาลินี บูรณโกศล
  • จันทร์ชลี มาพุทธ
  • สมหมาย แจ่มกระจ่าง

Keywords:

ความสนใจทางอาชีพ, การทำสวน, สวนผลไม้

Abstract

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก 2) ส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ เนื้อหา กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและกิจกรรม ส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 กิจกรรม เปรียบเทียบทัศนคติ ต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม สถิติทดสอบ Mann – Whitney U-test และการ วิเคราะห์เนื้อหา          ผลการวิจัยพบว่า          1. ทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพในอาชีพ ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพ และด้านความพึงพอใจในอาชีพ อยู่ในระดับมาก และด้านความมั่นคงในอาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง          2. การส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย               2.1 สร้างกิจกรรมส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ ลักษณะกิจกรรมมุ่งส่งเสริม 4 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงในอาชีพ ด้านความพึงพอใจในอาชีพ ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพ และด้านสัมพันธภาพในอาชีพ ลักษณะกิจกรรมมี 4 รูปแบบ ได้แก่ โรงเรียนเป็นฐาน ครอบครัวเป็นฐาน ผู้ประกอบการเป็นฐาน และท้องถิ่นเป็นฐาน การเรียนรู้ทัศนคติ ประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนัก การสร้างการเห็นคุณค่า และประโยชน์ และการปฏิบัติ               2.2 การนำกิจกรรมไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพทำสวนผลไม้พบว่า หลังการนำกิจกรรมไปใช้นักเรียนกลุ่มทดลองมีทัศนคติสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า               ด้านความมั่นคงในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในเรื่อง รายได้ที่ อาหาร สิ่งแวดล้อม การมีที่ดินเป็นของตนเอง และการท่องเที่ยว               ด้านความพึงพอใจในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่อง ผลตอบแทนรายได้สูง ความพอใจในวิถีชีวิต และความพอใจที่มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ช่วยทำให้การประกอบอาชีพทำสวนผลไม้มีความ สะดวกสบาย               ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่องแบบอย่างการใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ แบบอย่างผู้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะแบบอย่างจากคนรุ่นใหม่ แบบอย่างจากสื่อเครือข่ายออนไลน์ และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น               ด้านสัมพันธภาพในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่อง การมีสัมพันธภาพกับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำให้ได้รับความรู้ ความคิดมากขึ้นและเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการประกอบอาชีพทำสวนร่วมกับพ่อแม่ทำให้ เกิดสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว           The purposes of this research were 1) to study the Mathayonsuksa 3 student, s attitude fruit gardening occupation in the Eastern Part of Thailand. 2) activities development to enhancing the attitude fruit gardening occupation for Mathayonsuksa 3 student. The sample composed of 384 Mathayonsuksa 3 students in family fruit gardening occupation. The instrument used questionnaire and semi structure interview. The data analysis were percentage, mean, standard deviation and content analysis. Experimental group were 15 students and control group were 15 students. The instrument used 6 activities enhancing the attitude fruit gardening occupation for secondary student and questionnaire. The data analized by Mann – Whitney Utest and content analysis.          The research finding were as follows:          1. the Mathayonsuksa 3 student , s attitude fruit gardening occupation the total is in high level, by aspects consisstensive were career relationship, career satisfaction, career role model in high level and the last is career security in middle level.          2. The enhancing attitude fruit gardening occupation for Mathayonsuksa 3 student               2.1 the activities to enhancing Mathayonsuksa 3 student, s attitude fruit gardening occupation in 4 aspect ; career security, career satisfaction, career role model and career relationship. The activities have 4 model; school-based activities, Home-based activities, Entrepreneurial-base activity and local-base activities               2.2 compare between experimental group and control group were sigfinicant at .01. The result of content analysis were to :               career security dimension; student , s attitude are enhance incomes, utilized from food, environment, owner land and tourism.               career satisfaction dimension; student , s attitude are more in satisfaction of high incomes, way of life and satisfaction of used news knowledge and technology for occupation comfortable.               career role model dimension; student , s attitude are more in fruit gardening high knowledge and technology management, farmer successful pattern model, from young generation farmer pattern model, from media online networks and more self-confident to successful fruit gardening occupation.               career relationship dimension; student , s attitude are more in working in fruit gardening occupation with parent help family relationship are higher, the relationship with occupational group help more knowledge, more thinking and help together in career groups.

Downloads