การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Authors

  • ศุภชัย ถึงเจริญ
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม

Keywords:

ความคิดแบบปรับเหมาะ, โมเดลสมการเชิงเส้น, นักเรียนอาชีวศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการคิดแบบปรับเหมาะ ของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดล สมการโครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยในสังกัดคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง จำนวน 901 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดตัวแปรทั้งหมด 6 ตัว โดยใช้ มาตรประมาณค่าและแบบทดสอบ เครื่องมือวัดตัวแปรในโมเดลมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC>0.50) ความตรงเชิง โครงสร้าง (โมเดลการวัดทุกตัวแปรสอคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์) และความเที่ยงอยู่ในระดับดี (.80≤α) การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติบรรยาย วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัยพบว่า          1. โมเดลการวัดตัวแปรปัจจัยสาเหตุและการคิดแบบปรับเหมาะ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ทั้งหมด แสดงว่าโมเดลการวัดของตัวแปรในโมเดลมีความตรงเชิงโครงสร้างในระดับดี          2. โมเดลสมการโครงสร้าง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษามีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 =189.887, df =110, p= .000, RMSEA= .028, CFI= .981, TLI= .975, SRMR= .020) โดยตัวแปรที่มีขนาดอิทธิพลรวมต่อการคิดแบบปรับเหมาะตามลำดับได้แก่ ตัวแปรความเชื่อใน สมรรถภาพตนมีค่าอิทธิพลทางตรง=.758 อิทธิพลทางอ้อม=.051 อิทธิพลรวม=.809 ตัวแปรลักษณะนิสัยมีค่า อิทธิพลทางตรง=.216 ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าอิทธิพลทางตรง=.039 ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีค่า อิทธิพลทางตรง= -.030 อิทธิพลทางอ้อม=.099 อิทธิพลรวม=.007 ตัวแปรความถนัดทางการเรียนมีอิทธิพล ทางตรง=-.020 และตัวแปรสาเหตุทุกตัวสามารถทำนายได้ร้อยละ 81.8          The purposes of this research were: 1) to validate the measurement model of adaptive thinking of college students under the Vocational Education Commission to empirical data and 2) to validate a causal model of factors affecting adaptive thinking of college students under the Vocational Education Commission. The 901 vocational students were selected by using two-stage random sampling. The instrument are rating scales and tests and all of instruments were met the acceptable requirement quality both validity and reliability. The quantitative properties of of all variables in model were described by using descriptive statistics. The measurement models and causative model were analyzed by SEM computerized program.          The findings revealed that the multi-level measurement models of all variables in the causative model were fitted to the empirical data. The causative model of adaptive thinking was consistent with the empirical data (χ2 = 189.887,  χ2 /df =1.72, RMSEA = .028, CFI = .981, TLI = 975, SRMR = .020). Self-Efficacy has significantly direct, indirect and total effects to adaptive thinking (path coeff. equal 758, .051, and 809 respectively). Student characteristics and achievement have significantly direct effect to adaptive thinking. (path coeff. equal .216 and .039 respectively). Achievement motivation has no significantly in all effects to adaptive thinking. Finally, the academic aptitude has negatively direct effect to adaptive thinking. (path coeff. equal =-.020). All variables in the model explained the variance of adaptive thinking at 81.8%

Downloads