ผู้หญิงกับสังคม : กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอของศรีบูรพาและดอกไม้สด

Authors

  • สุวพิชญ์ ติปยานนท์
  • ปนันดา เลอเลิศยุติธรรม

Keywords:

กลวิธีทางภาษา, การนำเสนอ, ผู้หญิงกับสังคม

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอ“ผู้หญิง”ในนวนิยายของศรีบูรพา และดอกไม้สด โดยเก็บข้อมูลจากนวนิยายของศรีบูรพาและดอกไม้สด เป็นนวนิยายที่ตีพิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2476-2500 มีจำนวน 14 เล่ม ผลการศึกษาพบว่าการเพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอ“ผู้หญิง”ในนวนิยายของศรีบูรพาและดอกไม้สด พบมี 3 กลวิธี ได้แก่ 1) การใช้ชุดคำต่างๆ 2) การใช้อุปลักษณ์3) การใช้วัจนกรรม การใช้ชุดคำต่างๆ มี 3 ชุดคำ คือ การใช้ชุดคำที่แสดงความทุกข์ การใช้ชุดคำที่แสดงการอยู่ใต้อำนาจของผู้ชาย การใช้ชุดคำที่ แสดงการยกย่องผู้หญิง การใช้อุปลักษณ์มี 3 แบบ ได้แก่ ผู้หญิง คือ สิ่งของ สัตว์และ ดอกไม้และการใช้วัจนกรรม มี 2 แบบ ได้แก่ วัจนกรรมชี้นำ วัจนกรรมปฏิเสธ ดังที่ สุพรรณี วราทร (2519) ได้กล่าวว่า นวนิยายจึงเป็น วรรณกรรมที่สามารถเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่และสังคมทุกชนชั้นได้เพราะรวมเรื่องทุกด้านที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป ตั้งแต่เรื่องชีวิตในครอบครัวไปจนถึงวิทยาการแขนงต่างๆ ด้วยเหตุนี้ สะอาด รอดคง (2533) ได้กล่าวว่า นวนิยายจึงได้รับความนิยมสูง มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีนวนิยายแนวใหม่เกิดขึ้นเสมอ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องเล่าที่สื่อความรู้สึกของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนสามารถถ่ายทอด อารมณ์ความรู้สึก จินตนาการและสภาพสิ่งแวดล้อมออกมาตามทัศนะความรู้และประสบการณ์ของบุคคล           This article presents language strategies in the presentation“women”in novels of Sriburapa and Dokmaisod. The study for novels published in 1933-1957. There are 14 books. The research finds that there are four main language strategies: the use of a set of words and the use of modification: using the suffering words, the use of a set of words under the power of men, the use of words expresses praise, metaphoric and speech act. Metaphoric: women are object, animals and flowers. Speech act: guided action and reverence.

Downloads