การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับผังความคิด
Keywords:
วิธีการทางประวัติศาสตร์, ผังความคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หน่วยการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับผังความคิด ก่อนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /6 โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่มเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบ วัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผัง ความคิด นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 28.15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 93.83 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังการจัดการเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับผังความคิด นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ย 27.60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.00 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0 และ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จาก คะแนนเต็ม 30 คะแนน พบว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้วิธีทางการประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด นักเรียนได้ คะแนนผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 14.43 คิดเป็นร้อยละ 48.08 คะแนน หลังจากการจัดการเรียนรู้วิธีทางการประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด นักเรียนได้คะแนนผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยความก้าวหน้าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 28.15 คิดเป็นร้อยละ 93.83 และมีคะแนนความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 45.75 คะแนน เท่ากับ 13.73 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนได้คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.00 คิดเป็นร้อยละ 43.33 หลังจากการจัดการเรียนรู้วิธีทางการประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด นักเรียนได้คะแนน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 27.60 คิดเป็นร้อยละ 92.00 และมีคะแนน ความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 48.67 คะแนนความก้าวหน้า เฉลี่ย เท่ากับ 14.60 This research was aimed to 1) compare the academic achievements and analytical thinking ability in the Local Wisdom Unit of Mattayom 4 students using historical method in conjunction with mind mapping prior to and following class, 2) compare the academic achievements and analytical thinking ability in the Local Wisdom Unit of Mattayom 4 students using historical method in conjunction with mind mapping prior to and following class to a standard criterion of 70 percent. The sample group in this research consisted of 40 students attending Mattayom 4/6 at Princess Ubolratana Rajakanya's College Nakhon Ratchasima, Muang District, Nakhon Ratchasima Province, Secondary Educational Service Area Office 31 during Semester 2, Academic Year 2017 via cluster random sampling. The research instrument included six pages of lesson plans for a 12- hour Local Wisdom Unit. Data were collected using an Academic Achievement Test on Local Wisdom Unit and an Analytical Thinking test and analyzed for the mean, standard deviation (S.D.) an t-test. Results revealed that 1) the students’ academic achievements following the lessons using historical method in conjunction with mind mapping were at an average of 55.30, which is 92.17 percent. When considered each student individually, it was found that 40 students passed the standard criterion of 70 percent, which is 100.00 percent. Moreover, the students’ academic achievements on Local Wisdom Unit of Mattayom 4 students following class were higher than the standard criterion of 70 percent, with a statistically significance of .05. 2) the students’ analytical thinking ability following lessons using historical method in conjunction with mind mapping were at an average of 54.98, which is 91.63 percent. When considered each student individually, it was found that 40 students passed the standard criterion of 70 percent, which is 100.00 percent. Additionally, the analytical thinking ability of Mattayom 4 students following class was higher than the standard criterion of 70 percent, with a statistically significance of .05.Downloads
Issue
Section
Articles