รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีและคู่มือสำหรับการสร้างฐานข้อมูล ดิจิตอลแบบ 3 มิติ เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน

Authors

  • คุณยุต เอี่ยมสอาด
  • กิตตินาถ วรรณิสสร
  • วรัทยา ธรรมกิตติภพ
  • จักรพันธ์ วิลาสินีกุล
  • พิเชฐ เขียวประเสริฐ

Keywords:

การจัดการความรู้, การถ่ายทอดเทคโนโลยี, การสร้างฐานข้อมูลดิจิตอล, แบบ 3 มิติ, การอนุรักษ์โบราณสถาน

Abstract

          การอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นประดับสะพานแนวทางหนึ่ง ได้แก่ การทำสำเนา 3 มิติ เพื่อจัดเก็บไว้ เป็นหลักฐานสำหรับศึกษาและการซ่อมแซมที่ถูกต้องต่อไป การทำสำเนา 3 มิติ เป็นวิธีการที่ใช้กับมรดกทาง วัฒนธรรมที่ตั้งอยู่กลางแจ้งและเคลื่อนย้ายไม่ได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้จึงศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับการสร้างฐานข้อมูลดิจิตอลแบบ 3 มิติ และจัดทำคู่มือองค์ความรู้การสร้างฐานข้อมูลดิจิตอลเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน ระเบียบวิธีการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงพรรณา แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลักคือการศึกษารูปแบบการจัดการความรู้จากนักวิจัย และจัดทำคู่มือองค์ความรู้ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน          ผลการวิจัยพบว่า          1. รูปแบบจัดการความรู้เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับการสร้างฐานข้อมูลดิจิตอลแบบ 3 มิติเพื่อ การอนุรักษ์โบราณสถาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่ 1 การถอดความรู้ขั้นตอนที่ 2 การแลกเปลี่ยน เรียนรู้โดยการถ่ายทอดจากนักวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายผ่านการฝึกอบรมการสร้างฐานข้อมูลดิจิตอลแบบ 3 มิติของ รูปทรงและลวดลายเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน ขั้นตอนที่ 3 การน าความรู้ไปใช้โดยการติดตามและประเมินผล จากการฝึกอบรมไปใช้ในงานอนุรักษ์และขั้นตอนที่ 4 การเก็บรักษาความรู้          2. ผลการจัดทำคู่มือองค์ความรู้เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน พบว่า มีความสมบูรณ์ในเนื้อหาผ่านการ ตรวจสอบรับรองคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้จริง           One way to preserve the stucco sculpture is to create a 3D copy for the proper study and repair. Direct digital fabrication is a method used for cultural heritage located outdoors and moving. The objective of this research is to study the knowledge management model for technology transferred, and create the knowledge management for direct digital fabrication of stucco. This research method uses descriptive research in two main stages: the study of the knowledge management model from the researcher and make a knowledge guide. The study was conducted by 4 experts.          The research found that;          1. Knowledge management model for technology transferred for direct digital fabrication of stucco consists of 4 steps: step 1 transcription, step 2 exchange of learning by transferring from the researcher to the target audience through training, step 3 monitoring and evaluating the training and step 4 Storage of knowledge.          2. The knowledge management manual for direct digital fabrication of stucco was checked the by the experts and qualified applicants.

Downloads