ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเชื่อถือข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิต ระดับปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • ดำรัส อ่อนเฉวียง

Keywords:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การเชื่อถือข้อมูล, สื่อสังคมออนไลน์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเชื่อถือ ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 513 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพล ต่อการเชื่อถือข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สามารถอธิบายค่าอิทธิพลเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ปัจจัยเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ มีค่าขนาดอิทธิพล 0.75 ปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์นิสิต มีค่าขนาดอิทธิพล 0.62 ปัจจัยเกี่ยวกับตัวสื่อ มีค่าขนาดอิทธิพล 0.28 ปัจจัยเกี่ยวกับผู้นำเสนอข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ มีค่าขนาดอิทธิพล 0.19 ปัจจัยเกี่ยวกับนิสิต มีค่าขนาดอิทธิพล 0.2 ปัจจัยเกี่ยวกับแหล่งข้อมูล ด้วยค่าขนาดอิทธิพล 0.2 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.001 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเชื่อถือข้อมูล จากสื่อสังคมออนไลน์ ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า แบบจำลองมีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์มีค่าเท่ากับ 272.48 ที่ องศาอิสระเท่ากับ 143 และค่าความน่าจะ เป็น (p) เท่ากับ 0.001 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิเคราะห์ค่าดัชนีวัด ระดับความกลมกลืน(GFI) มี ค่าเท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว (AGFI) มีค่า เท่ากับ .90 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 ค่าดัชนีความ คลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.047 และค่าดัชนีรากที่สองเฉลี่ยของส่วนที่ เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.034 ซึ่งเข้าใกล้ ศูนย์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนว่าแบบจำลองการวิจัยมีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์           The purposes of this research were analyze causal factors influencing the reliability of data form social media. of the undergraduate students Faculty of Education Burapha University. The sample of this research was 513 students in the Faculty of Education, Burapha University, by cluster sampling. The research results found that: 1) The causal factors influencing the reliability of data from social media of undergraduate students Faculty of Education Burapha University Describe the influence values in descending order. The social dimension influence size 0.75, Behavioral factors affect social media behavior with the influence size 0.62, Media factors influence size 0.28, The Contributor influence size 0.19, Student Factors influence size 0.2 and Data Source influence size 0.2 and p-Value =0.000. 2) The results confirm the consistency of causal models that influence the trust of social media. Of the undergraduate students Faculty of Education Burapha University Analyze the relationship between the variables. The data were analyzed. The model is consistent with the empirical data. Based on the statistics used to determine the The correlation between the model and the empirical data was 272.48 at an independent degree of 143 and p-Value =0.000, which indicates that at .05 significant level. The researcher was asked by the researcher. Chi-square test results Accept the hypothesis that the model The developed research is consistent with empirical data. This is consistent with the measurement results. The GFI was 0.94. The AGFI value was .90, which was close to 1. The RMSEA was 0.047 and The mean square root of the remainder (RMR) is 0.034 which approaches zero, which supports that the research model is consistent with the empirical data.

Downloads