ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

Authors

  • เพิ่มบุญ พื้นแสน
  • สอาด หอมมณี
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์, เมาแล้วขับ, เจ้าพนักงานจราจร, แอลกอฮอล์

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายจราจรทางบก กรณีผู้ขับขี่ปฏิเสธการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 และปัญหาการใช้ อำนาจของเจ้าพนักงานในการกักตัวผู้ขับขี่ซึ่งมีเหตุสงสัยว่าเมาสุรา รวมถึงมาตรการบังคับทางกฎหมายตาม กฎหมายของไทยและต่างประเทศในการหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ให้มีความถูกต้องตามหลักนิติธรรม ตลอดจนเสนอแนะแนวทางให้เจ้าพนักงานจราจรในการบังคับตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ กรณีผู้ขับขี่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิตและร่างกาย ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี          ผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายจราจรได้แก่พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 142 วรรคสาม ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้ขับขี่ที่ไม่ทดสอบการตรวจวัดปริมาณ แอลกอฮอล์ได้ แต่ในการกักตัวไม่ได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาไว้อย่างแน่นอน ชัดเจน จึงอาจเป็นเหตุทำให้ผู้ขับขี่ที่ถูกกักตัวนานเกินสมควรและตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 พ.ศ.2537 ได้กำหนดให้ใช้วิธีการทดสอบผู้ขับขี่ว่าเมาสุราหรือไม่ โดยให้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยใช้วิธีการตรวจวัดลมหายใจด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ ตรวจปัสสาวะและตรวจวัดจากเลือด ทั้งนี้การตรวจปัสสาวะและตรวจวัดจากเลือด จะให้ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถ ทดสอบตามวิธีการตรวจวัดลมหายใจด้วยเครื่องมือได้เท่านั้น ซึ่งขั้นตอนทั้งสามอย่างที่กฎหมายกำหนดไว้นี้ อาจจะยังไม่เพียงพอและไม่สามารถนำมาใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ที่ปฏิเสธไม่ยอมให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานในการตรวจวัด ระดับแอลกอฮอล์ รวมถึงการที่เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจในการบังคับตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ กรณีผู้ขับขี่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิตและร่างกายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี          ข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้ เห็นควรให้มีการกำหนดระยะเวลากักตัวเพื่อตรวจสอบจำนวน 3 ชั่วโมง หากผู้ขับขี่ไม่ยอมทดสอบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้เจ้าพนักงานจราจรดำเนินการส่งตัวผู้ขับขี่ไปยัง พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามกฎหมายและเพิ่มวิธีการตรวจสอบความมึนเมา 3 วิธี โดยเสนอให้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงได้แก่ การทดสอบการมองเห็น การเดินไปกลับ การยืนขาเดียว รวมถึงควรกำหนดให้เจ้าพนักงานมีอำนาจบังคับตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเมื่อมีกรณีผู้ขับขี่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิตและร่างกายโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ขับขี่ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานจราจร สามารถใช้ดุลพินิจในการเลือกใช้มาตรการต่าง ๆ ได้หลากหลาย และมีความเหมาะสมแก่พฤติการณ์           Road Traffic Act, B.E. 2522 (1979), in cases where drivers refuse to conduct alcohol testing under Road Traffic Act, B.E. 2522, and problems with exercise of power of the official in detaining drivers, who are reasonably suspected of being intoxicated, including legal measures under Thai law and laws of foreign countries for finding approaches to improving methods of alcohol testing, as to be consistent with the principles of the rule of law, as well as to recommend guidelines for the traffic official to impose alcohol testing in cases where the divers caused road accidents, which inflicted harms on body and life of another person, under Road Traffic Act, B.E. 2522, Section 160 ter          The study results find that problems and obstacles in terms of the traffic law comprises of Road Traffic Act, B.E. 2522, Section 142, Paragraph Three, that empowers the competent official to detain a driver, who refuses to conduct alcohol testing, but it does not specify a definite period of detention, which probably leads to the driver being detained for an unreasonably prolonged period, and under the Ministerial Regulation No. 16, B.E. 2537 (1994), prescribes for conduct of testing whether or not a driver is intoxicated, whereby the amount of alcohol in the blood shall be measured by a method of breath test through a device, urine testing and blood testing, provided that urine testing and blood testing can be conducted in a case where breath testing cannot through the device be conducted, and the three procedures, which are provided by the law, may not be sufficient and may not be able to be imposed on a driver, who refuses to cooperate with the official in alcohol testing, as well as the fact that the traffic official is not empowered to impose alcohol testing in a case where a driver caused a road accident, which inflicted harms on body and life of another person, under Road Traffic Act, B.E. 2522, Section 160 ter.          to be 3 hours, if a driver refuses to conduct the testing within the said period, the traffic official should send the driver to the inquiry official for conducting legal proceedings, and 3 methods should be added in intoxication testing, whereby the methods are recommended to be prescribed in the Ministerial Regulation, comprising of: vision testing; walk-and-turn testing; and one-legged stance testing, as well as the competent official should be empowered to impose alcohol testing, which is prescribed in the Ministerial Regulation, in a case where a driver caused a road accident, which inflicted harms on body and life of another person, without being required to obtain consent from the driver, in order that the traffic official can exercise its discretion to choose from variety of the measures, which are suitable for the circumstances.

Downloads