การพัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ

Authors

  • เกศรา น้อยมานพ

Keywords:

การเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค, กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อความสามารถในการ เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2559 ที่มีระดับคะแนนจากแบบวัด ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟัน อุปสรรคและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ นักเรียนกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตามที่ โรงเรียนกำหนด การเก็บข้อมูลแบ่งออก เป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะ ติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปร ภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบนิวแมน – คูลส์          ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ใน ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           This research aimed to study the effects of group dynamics activities on adversity quotient of Mathayomsuksa students. The sample composed of Mathayomsuksa students at Saensook School, who had score on the adversity quotient less than 25th percentile. The random sampling method was adopted to assign sample into two groups: an experimental and a control, ten students in each. The instruments used in this research were the measure of adversity quotient and The group dynamics activities program. The treatment was given twelve sessions, three times a week. Each session lasted for 60 minutes for the experimental group. The control group joined regular school’s activities. The data collection was divided into three phases; the pre experiment, the post experiment, and the follow - up. The data were analyzed by repeated          measures of variance: one between - subjects variable and one within - subjects variable followed by paired - different test by Newman - Keuls procedure.          The result of the study indicated that there was statistically significant interaction at .05 level between the method applied and the duration of experiment. The Matthayomsuksa 2 students in the experimental group had higher adversity quotient than the students in the control group, in the post experiment and the follow - up phases with statistically significance at .05 level. It was also found that the students in the experimental group had higher adversity quotient in the post experiment phase, and the follow - up phases compared with the pre experiment phase with statistically significance at .05 level.

Downloads