การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชา การบัญชีขั้นต้น นักศึกษาหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต (การบัญชี) วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี

Authors

  • นิพร จุทัยรัตน์
  • พรรณวดี กาศอุดม
  • ไชยยันต์ ถาวระวรณ์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้, การวิจัย, ชุดการจัดการเรียนรู้แบบ C-PBL 21, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้

Abstract

          งานวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชา การบัญชีขั้นต้น นักศึกษาหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต (การบัญชี) วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี (Research-Based Learning : RBL) วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาการบัญชีขั้นต้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2) เพื่อพัฒนาทักษะ ผู้เรียนในด้านการวิเคราะห์ การวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล การแก้ปัญหา และการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการวิจัย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานในรายวิชา การบัญชีขั้นต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (การบัญชี) ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาการบัญชีขั้นต้น โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพจากคะแนนการทำแบบฝึกหัดในบทเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียนเพื่อหา ประสิทธิภาพการใช้ชุดการจัดการเรียนรู้แบบ C-PBL21 จำนวน 7 modules พบว่า ผู้เรียน ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ถูกต้อง สูงกว่าก่อนเรียน และ 2) พัฒนาทักษะผู้เรียนในด้านการวิเคราะห์ การวางแผน เก็บรวบรวม ข้อมูล การแก้ปัญหา และการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการวิจัยมีประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน โดยใช้ ชุดการจัดการเรียนรู้แบบ C-PBL21 จ านวน 7 modules ในรายวิชา การบัญชีขั้นต้น แบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ          ด้านบริบทของการเรียนการสอน พบว่าเนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้เพียงพอที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการ ศึกษาต่อในรายวิชาสูงขึ้น โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด          ด้านปัจจัยเบื้องต้นของการเรียนการสอน พบว่า ผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา จัดกิจกรรมที่ เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและผู้เรียน โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด          ด้านกระบวนการบริหารจัดการเรียนการสอน พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนมีวิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายเหมาะสม สอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาของรายวิชา ด้านการวัดผลและประเมินผลรายวิชา วิธีการวัดผลและประเมินผลมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด          ด้านผลผลิตของการเรียนการสอน พบว่า กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ และประสบการณ์ไปคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาเป็น และตัดสินใจในงานที่รับผิดชอบได้มีการทำงานร่วมกัน แบ่งปัน ความรู้ ความไว้วางใจทั้งตนเองและผู้อื่น มีการเรียนรู้จากการทำงานเป็นทีม           This research-based learning: RBL aimed were 1) to study learning achievement in Principle of Accounting subject by using research-based learning: RBL 2) to develop students’ skills in analyzing, planning, data collecting, problem-solving and data analysis 3) to study students’ satisfaction on research-based learning: RBL in Principle of Accounting subject. The sample of this research was consisted of 19 freshmen students in the accounting program during the first semester in the academic year of 2017 at Chonburi Vocational College by purposive sampling.          The research results revealed that;          1. The learning achievement in a Principle of Accounting subject by using researchbased learning: RBL analyzed by pre-test and post-test to find the efficiency of C-PBL 21 package in 7 modules revealed that students’ ability in post-test were higher than the pre-test.          2. The students’ skills in analyzing, planning, data collecting, problem-solving and data analysis were at the 0.05 level of significance which based on the hypothesis.          3. The students’ satisfaction on research-based learning: RBL by using C-PBL 21 package in the total of 7 modules in principle of accounting subject can be divided into 4 categorized;          Context revealed that content in the context was enough for basic knowledge for the higher degree was at the highest level.          Input revealed that teachers had the ability to understand contents and designing instruction activities for students were at the highest level.          Process revealed that teachers’ ability in designing a variety of instructional activities which meet the subject’s objective and content. Measurement and evaluation had clearly regulation and continually consistent at the highest level.          Product revealed that instruction activities affected the students in knowledgeability and experienced in analyzed, problem-solving and decision making in their responsibilities, cosharing knowledge, trustworthiness, and teamwork.

Downloads