การตอบสนองต่อการช่วยเหลือ RtI : เครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนทุกคนในศตวรรษที่ 21

Authors

  • ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์

Keywords:

การช่วยเหลือ, การตอบสนอง, การสอน/ นักเรียน, ความต้องการจำเป็นพิเศษ, ความบกพร่องทางการเรียนรู้

Abstract

          บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายถึงความสำคัญและประโยชน์ของการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ(Response to Instruction: RtI) หรือการตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บทบาทของครู/วิธีการของครูในการนำระบบ RtI ไปใช้ได้อย่างไร พร้อมนำเสนอระบบ RtI ไปใช้ให้เหมาะกับบริบทไทยและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารสถานศึกษาที่จัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวมหรือเรียนร่วม บุคลากรครู ครูการศึกษาพิเศษ ในประเทศไทยให้นำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดี พร้อมนำเสนอระบบ RtI ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนตอบสนองต่อการสอนพร้อมนำเสนอองค์ความรู้ในการศึกษา RtI เพื่อสร้างเจตคติที่ดีของบุคลากรทางการศึกษาในการนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งจะทำให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 ฉบับปรับปรุง 2545 และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้เป็นไปได้อย่างมีคุณภาพและทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้เรียนทุกคน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทำความเข้าใจในระบบ RtI พร้อมทั้งเปิดมุมมองในเรื่องข้อจำกัดของบุคลากรที่จะต้องจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวมหรือเรียนร่วมได้ เป็นการลดความเข้าใจที่คาดเคลื่อนว่าไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการคัดกรองผู้เรียนอีกต่อไป ซึ่งถ้าบุคลากรครูรู้และเข้าใจในลักษณะของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแต่ละประเภทยิ่งจะทำให้การตอบสนองต่อการช่วยเหลือให้เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น           This article is intended to describe the importance and benefits of the Response to Intervention (RtI), or the Response to Supportive Learning in the 21st Century, the teachers’ roles/methods in using the response method towards teaching, how to use RtI, as well as, how to use the RtI system to suit the Thai educational context, and to provide an understanding to the administrators of special education institutes, either integrated or co-education, teaching staff, teachers of special education institutes in Thailand, to utilize in a positive manner. This is to help students to respond to teaching and to present their knowledge in RtI education, in order to create a positive attitude of the educational personnel in the implementation. This will be in line with the Education Act B.E. 2542, Revised version B.E. 2545, and the learning skills of the 21st Century, in order to attain the highest quality and be the most beneficial for all learners. The author hopes that the understanding of the RtI system, the response to teaching or the learner-assisted system, as well as, the opening of the perspective on the limitations of personnel who will need to engage in classroom instruction, will reduce the misunderstanding that there is no longer a need for screening of learners. Therefore, if the teacher is aware and understands in terms of the special needs of each children, the more they can actively respond to Instruction and Intervention, easier and faster.

Downloads