การวิจัยและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในวิชาชีพครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

Authors

  • ศิรประภา พฤทธิกุล

Keywords:

สมรรถนะ, วิชาชีพครู, กิจกรรมการเรียนรู้, นิสิตครู, การศึกษาปฐมวัย, การเรียนรู้

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างสมรรถนะในวิชาชีพครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (2) ศึกษาผลการเสริมสร้างสมรรถนะในวิชาชีพครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 8 ระยะ ได้แก่ การศึกษาแนวคิดพื้นฐาน การสร้างกรอบแนวคิด การตรวจสอบคุณภาพของกรอบแนวคิด การสร้างคู่มือและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการตรวจสอบคุณภาพของคู่มือและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การปรับปรุงคู่มือและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การทดลองใช้ และการนำเสนอ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 12 เดือน กลุ่มเป้าหมายคือนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 ปี การศึกษา 2560 รวมจำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะในวิชาชีพครู ซึ่งเป็นแบบเกณฑ์การประเมิน (Rubrics) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ย แปลผลโดยเทียบเกณฑ์ 5 ระดับ เกณฑ์การประเมินคือ นิสิตมีสมรรถนะที่กำหนดอยู่ในระดับดีมากขึ้นไปทุกรายการ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1. กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะในวิชาชีพครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีโครงสร้างประกอบด้วย (1) แนวคิดพื้นฐาน ได้แก่ การศึกษาแบบประสบการณ์ การศึกษาแบบสมรรถนะเป็นฐาน การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (2) หลักการ ได้แก่ ลงมือปฏิบัติอย่างกระตือรือร้นในบริบทจริง มีกรอบผลการเรียนรู้ที่ชัดเจน สร้างความหมายผ่านการสะท้อนความคิดตามมุมมองของผู้ปฏิบัติ ช่วยเหลือแบบเสริมต่อการเรียนรู้ (3) วัตถุประสงค์ คือ การเสริมสร้างสมรรถนะในวิชาชีพครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่สี่ (5) ระยะเวลา 65 ชั่วโมง (6) กระบวนการจัดกิจกรรมประกอบด้วย ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นปฏิบัติการ ขั้นประเมินสรุป และขั้นปรับปรุงพัฒนา (7) สื่อการเรียนรู้ (8) การประเมินผล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะในวิชาชีพครู และ (9) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้          2. ผลการเสริมสร้างสมรรถนะในวิชาชีพครูของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพบว่า กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้นจำนวน 42 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยสามารถจำแนกนิสิตที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 95.24 และอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76          The purposes of this research were 1) to develop learning activities for enhancing teacher competency of pre-service teachers in early childhood education and 2) to study the effects of teacher competency of pre-service teachers in early childhood education after the implementing. The research and development procedure was divided into 8 phases which comprised: the fundamental conceptual study; the conceptual framework construction; the quality assessment of the conceptual framework; the handbook and research tools construction; the quality assessment of the handbook and research tools; the handbook and research tools improvement; the experimentation; and the presentation; and it lasted for 12 months. The target group is the 42 fourth year students majoring in the Early Childhood Education Program of the Faculty of Education, Burapha University in 2017 academic year. The research instruments was teacher competency assessment forms using rubrics, the data analyzed by converting average points to five-scale rating, and all teacher competency must achieve at least ‘good’ score point. The research findings were as follows:          1. The learning activities consisted of 1) fundamental theory: which were the experiential education; competency-based education; constructivism; and lesson study, 2) principle: which were experience an active learning in actual social context; established learning outcome to achieve expected standards; reflective thinking from concrete experiences to give a new meaning in views of practitioners; using scaffolding to push highest level of competency, 3) the purpose which was to enhance teacher competency of pre-service teachers in early childhood education, 4) the target group was the fourth year students majoring in the early childhood education program, 5) the duration was 65 hours, 6) the process procedure was divided into 4 phases which comprised: preparation; action; conclusion assessment; improvement and development, 7) instructional media, 8) assessment was teacher competency assessment forms, and 9) suggestions for implementation.          2. In terms of enhancing the teacher competency to early childhood education students, it is found that 42 out of 42 students, 100%, passed an evaluation. In addition, 40 students, 95.24%, have the teacher competency at an excellent level, 2 students, 4.76%, have the teacher competency at a very good level.

Downloads