ผลการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้วาดแสงเล่นสีและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ตามแนวคิดศิลปะแบบเซอร์เรียลลิสม์

Authors

  • ธนพัฒน์ นิธิวัฒน์วงศ์
  • วิราวรรณ์ ชาติบุตร

Keywords:

แนวคิด, ศิลปะ, แบบเซอร์เรียลลิสม์, การคิดสร้างสรรค์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้วาดแสงเล่นสี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนตามแนวคิดศิลปะแบบเซอร์เรียลลิสม์ และ 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ วาดแสงเล่นสีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน ตามแนวคิดศิลปะแบบเซอร์เรียลลิสม์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบุไผ่ อำเภอวังน้ำเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัด การเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (average) ร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test for dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วาดแสงเล่นสีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน ตามแนวคิดศิลปะแบบเซอร์เรียลลิสม์ พบว่า 1.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 1.2) ผลการประเมินชิ้นงาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ วาดแสงเล่นสี ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียน ตามแนวคิดศิลปะแบบเซอร์เรียลลิสม์ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This research aimed to 1) compare of effects of draw light, play color unit of Prathomsuksa 5 students between pre and post learning by Surrealism Priciples, 2) compare of creative thinking of draw light, play color unit of Prathomsuksa 5 students between pre and post learning by Surrealism Priciples. The sample were 33 students studying in Prathomsuksa 5 students from Banbupai School, Wangnamkhiao District, in Nakhon Ratchasima Primary Service Area office 3. The second semester of the academic year 2017. Research tools were the lesson plans, learning achievement tests, creative think test. Statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation and t-test (t-test for dependent). The study revealed that: 1) Compare of effects of draw light, play color unit of Prathomsuksa 5 students between pre and post learning by Surrealims Priciples. 1.1) the post learning score of the achievement score had statistical significance higher than pre learning in all aspects at the .05 level, and 1.2) the post learning score of work pieces evaluation score had statistical significance higher than pre learning in all aspects at the .05 level. 2) The post learning score of the creative thinking score had statistical significance higher than pre learning in all aspects at the .05 level.

Downloads