การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ ด้านการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
การพัฒนารูปแบบ, การบริหารโรงเรียน, การจัดการเรียนการสอน, หุ่นยนต์, ความเป็นเลิศ, สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สพฐAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ สร้าง สำรวจ ตรวจสอบ ทดลองใช้ และรับรองรูปแบบ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถามโดยใช้แบบสอบถาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อการสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างกรอบรูปแบบ ได้ ประเด็นในกรอบรูปแบบ 6 ประเด็น คือ (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (2) หลักสูตรสถานศึกษา และการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ (3) อาคาร สถานที่ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักเรียน (4) โรงเรียน และชุมชนร่วมมือกันจัดการศึกษา (5) ครู และบุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ (6) โรงเรียนมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับ 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ ได้รูปแบบ S’LCN4M:PAR, ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ ได้ผลว่ารูปแบบมีคุณภาพ, และสามารถนำรูปแบบไปใช้ได้จริง 3) ผลสำเร็จที่ได้จากการทดลองใช้ร่างรูปแบบ ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ ครูผู้สอนหุ่นยนต์ และ นักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ (1) ผลสำเร็จของโรงเรียนที่ทดลองใช้ร่างรูปแบบผลสำเร็จในด้านการมีหลักสูตรหุ่นยนต์ของโรงเรียน โรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียนที่ทดลองใช้ร่างรูปแบบมีหลักสูตรหุ่นยนต์ของโรงเรียนเป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดและในด้านรางวัลที่โรงเรียนได้รับ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1 โรงเรียนและไม่เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1 โรงเรียน (2) ผลสำเร็จของครูผู้สอนหุ่นยนต์ ในด้านความรู้ความสามารถและการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ ครูผู้สอนหุ่นยนต์ทั้ง 2 โรงเรียน มีผลการประเมินในระดับ ดีมาก และ ในด้านรางวัลที่ครูได้รับ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1 คนและไม่เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1 คน (3) ผลสำเร็จของนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ ทั้ง 26 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหุ่นยนต์ในระดับดีมากและ ในด้านรางวัลที่นักเรียนได้รับ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด13 คนและไม่เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 13 คน This research is to create, explore, examine, experiment, and validate a pattern. Which includes gathering information by conducting a documentary research, in-depth interviewing, using questionnaires, participant observing, analyzing the information by analyzing the content and making a comparison to reach a conclusion, and present it to an advisor. The research found that 1) Establishing the framework achieved 6 results: (1) Students had good academic achievements, moral values, ethics, and desirable traits (2) Improvement in school curriculum and learning management (3) Buildings, places, atmospheres, and surroundings had positive influence on students’ learning (4) The schools collaborated with the community in education management (5) The teachers and the education personnel have greatly improved (6) The schools had admittedly excellent achievements; 2) The model excellence administration of robot instruction is S’LCN4M: PAR, From the initial examination, it is concluded that the model was of good quality. And model can be used for real 3) The success of the experiment is the result from the achievements of the schools which teach robotics, the teachers who teach about robotics, and the students who study robotics as follows: (1) The achievements of the experimental schools which used the pattern and the achievements of having robotics teaching: one of the experimental schools has succeeded and received awards in accordance with the objectives and the key performance indicators which the other school has not. (2) The achievements of the teachers who teach robotics: in respect of the knowledge and skills in robotics teaching, the teachers of one of the experimental schools were evaluated as ‘very good’ and received awards in accordance with the objectives and the key performance indicators while the teachers of the other school were not. (3) The achievements of the students who studied robotics: in respect of academic achievements, from 26 students, 13 students were evaluated as ‘excellent’ and received awards in accordance with the objectives and the key performance indicators while the other 13 students were not.Downloads
Issue
Section
Articles