ปัญหาการใช้ดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ศึกษากรณีเหตุบรรเทาโทษ

Authors

  • ดนุนัย พิสุทธินรเศรษฐ์
  • สอาด หอมมณี
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

ดุลพินิจ, รับสารภาพ, เหตุบรรเทาโทษ

Abstract

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคำรับสารภาพในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้ดุลพินิจในการลดโทษของศาลในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเหตุบรรเทาโทษและแนวทางปฏิบัติของศาลให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น         ผลจากการศึกษามาตรการทางกฎหมายอาญาพบว่าการใช้ดุลพินิจในการรับฟังคำรับสารภาพของศาล กรณีคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพศาลวินิจฉัยโดยให้เห็นผลว่าจำเลยจำนนต่อพยานหลักฐานและกรณีคดีที่มีอัตราโทษเล็กน้อยเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลไม่นำเหตุบรรเทาโทษมาปรับใช้และการใช้ดุลพินิจการกำหนดมาตราส่วนในการลดโทษให้กับจำเลยที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมและเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายสากลและกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันไว้         การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ เห็นควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติทางกฎหมายอาญา มาตรา 78 ในเรื่องของการให้นำคำรับสารภาพมาใช้เป็นเหตุบรรเทาโทษและการให้เหตุผลแก่การไม่นำเหตุบรรเทาโทษมาปรับใช้แก่คดี และเห็นควรจัดทำบัญชีอัตราโทษกลางเพื่อให้ลดความแตกต่างของการกำหนดโทษของศาลในแต่ละท้องที่ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการกำหนดมาตราส่วนในการลดโทษเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ โดยปรับให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายสากลและกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน           The objectives of this Thesis are to study concepts and theories, and analyze legal measures relating to contemplation of pleas of guilty in conducting criminal justice proceedings, and to recommend approaches to solving problems with exercise of discretion in reducing the punishment by the Court, in a case where the Accused pleads guilty, in order to bring about consistency between the legal measures relating to extenuating circumstances and practices of the Court, as to be more efficient and fair.          The study of the legal measures finds that, exercising discretion of the Court to admit plea of guilty in a case where the accused pleads guilty, the Court however deliberates giving the reason that the accused surrenders to evidence, and, in a case subject to a petty punishment where the accused pleads guilty, the Court however does not take extenuating circumstance into consideration, and exercise of discretion to determine a proportion of reduction of the punishment varies among the Courts, resulting in inequality and disparity in the justice proceedings, being inconsistent with the universal legal principles and the international laws on human rights, which have been signed and ratified by Thailand.          As recommendations this study suggests to amend the provisions of the Penal Code, Section 78 with respect to admission of plea of guilty as an extenuating circumstance, and rationalization of not applying the extenuating circumstance to the case, and to provide a standard list of punishments, in order to minimize variations in sentencing by the Courts of different localities, as well as proposes an approach to determine proportions of reduction of punishments in cases where the accused plead guilty, thereby adjusting to be consistent with the universal legal principles and the international laws on human rights.

Downloads