การพัฒนาหลักสูตรอบรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยของนักศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก

Authors

  • เกรียงศักดิ์ บุญญา

Keywords:

หลักสูตรอบรม, ความปลอดภัย, การพัฒนาทักษะ, การปฏิบัติงาน, ภาคตะวันออก

Abstract

          การวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยของนักศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 2 ชนิด คือ 1) แบบทดสอบก่อน-หลังการอบรม มีลักษณะเป็นข้อคำถามชนิดปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ 2) หลักสูตรอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีองค์ประกอบตามแนวคิดของ Taba 4 ประการคือ วัตถุประสงค์ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์การเรียนและการประเมินผล มีค่า E1 = 81.87 และค่า E2 = 81.00 ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยเริ่มดำเนินการดังนี้ 1) ทำการทดสอบผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยแบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม 2) ดำเนินการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ 3) ทำการทดสอบผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมด้วยแบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม 4) ทำการประเมินผลการฝึกอบรมด้วยแบบประเมินผล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1) คะแนนจากแบบทดสอบ การทดสอบผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยแบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม และผลการประเมินจากแบบประเมินฯ นำมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ทำการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมโดยใช้การทดสอบทีแบบไม่อิสระ (Dependent t-test) 3) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่า IOC ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค และการหาประสิทธิภาพบทเรียน จะใช้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหรือกิจกรรมระหว่างอบรมมาคำนวณร้อยละซึ่งจะเรียกว่า Event1 หรือ E1 มาเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในรูปของร้อยละจากการทำแบบทดสอบหลังอบรมซึ่งจะเรียกว่า Event 2 หรือ E2 โดยนำมาเปรียบเทียบกันในรูปแบบ E1/E2 เกณฑ์ที่ใช้วัดกำหนดมาตรฐานไว้ 80/80          สรุปผลงานวิจัย          1. หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ คือ วัตถุประสงค์ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์การเรียน และการประเมินผล ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร โดยการทดลองใช้หลักสูตร จำนวน 3 ครั้ง คือ ครั้ง 1) นำไปทดลองใช้กับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา รุ่น 60 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 จำนวน 19 คน พบว่า นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษาสามารถตอบหรือทำแบบทดสอบได้ตามความรู้ที่มีและสามารถเข้าใจข้อคำถามต่าง ๆ ตรงกัน 2) นำไปทดลองใช้กับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา รุ่น 61 จำนวน 9 คน ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2561 พบว่า มีค่าความยากอยูระหว่าง 0.50-0.70 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28-0.87 3) นำไปทดลองใช้กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 10 คน ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2561 พบว่า มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.50-0.70 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.80 และค่าความเชื่อมันโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ซึ่งมีค่า = 0.90          2. ผลการพัฒนานักศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 พบว่า มีค่า E1 = 80.87 และค่า E2 = 81.00 โดยใช้หลักสูตรอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ พบว่า ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 100           The study entitled “Training Course Construction to Develop Safety Skills of High Vocational Education Students in the Eastern Region.” Was experimental Research, The purpose of the research were to develop safety training programs in the workplace, to develop the safety skills of industrial design students. The participants in this study were 20 students of High Vocational Education Students in the Eastern Region. Random sampling technique was used to identify the participant. The researcher developed 2 instruments to collect data and use in this study. There were 1) a pretest and posttest multiple-choice, 2) Lessons and curriculum concerning Safety in the Industry the training course curriculum was organized with Taba’s models: objectives, content, learning experience and evaluation E1 81.87 and E2 81.00; The researcher conducted and collected data starting from asking participants to complete their pretest; providing them with treatment (designed training program); asking them to complete their posttest and the evaluation form. After the data was collected, mean and standard deviation were used to compute. Also the dependent  t-test was used to evaluate the differences in means between pretest and posttest score. To analyze the quality of the training instrument, the researcher asked experts in the field to   verify their content validity and checked the IOC score. Difficulty level, Discrimination level, Reliability level were scrutinized by the use of coefficient alpha. the test of E1 and E2 score   were also performed and reported in this study.          This study was found that:          1. The development of Safety in the Industry Training program which contain all 4 elements 1) objectives; 2) content; 3) Learning Experiences; and 4) Evaluation, produced high effective result, in other words, the result meat all designed objectives. This was approved after trying out 3 times - a group of 3 students studying in Batch 60 in Industrial Technology Education major, in their first semester, a group of 19 students at the same batch in their second semester; and a group of students studying in High Vocational Education Students in the Eastern Region. In their first semester          2. The study reported that all 20 participants E1= 80.87 and E2= 81.00 passed all criteria set in the objectives.

Downloads