ชุมชนเข้มแข็งบนฐานทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

Authors

  • สุวิทย์ คงสงค์
  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
  • จันทร์ชลี มาพุทธ

Keywords:

ชุมชน, ทุนทางสังคม, ทุนทางวัฒนธรรม, ชุมชนตลาดน้ำตลิ่งชัน, เขตตลิ่งชัน

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนตลาดน้ำ ในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 2) กระบวนการและวิธีการจัดการทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม 3) ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการและวิธีจัดการ 4) แนวทางป้องกันแก้ไขและรักษาความเป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนตลาดน้ำในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการสำรวจภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยคณะกรรมการเครือข่าย ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ของรัฐนักท่องเที่ยวและผู้อาศัยในพื้นที่ รวม 31 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะเวลาศึกษา คือ เดือนพฤษภาคม 2561 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2561 รวม 7 เดือน ผลการวิจัยมีดังนี้          1. ความเป็นชุมชนเข้มแข็งของพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำ ในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่า เป็นชุมชนเก่าแก่ฝั่งธนบุรีมีประวัติมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เคยเป็นพื้นที่อพยพยกทัพผ่านของผู้คนตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง และตั้งเป็นเมืองหลวงในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช มีศาสนสถานเก่าแก่และมีลำคลองหลายสาย มีประชาชนหลากหลายเชื้อชาติตั้งถิ่นฐาน มีประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีชักพระ แข่งเรือ ทำขวัญข้าว สถานที่สำคัญ คือ วัดเก่า ตลาดน้ำ 4 แห่ง สวนผลไม้ สวนดอกไม้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง เป็นทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็งของชุมชน ปัจจุบันเขตตลิ่งชันเป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ยังคงความเป็นชุมชนแบบดั้งเดิม วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ส่วนมากยังคงเป็นเกษตรกรและใช้เส้นทางน้ำในการสัญจร คมนาคมขนส่ง          2. กระบวนการและวิธีการจัดการทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม พบว่า มีการตั้งเครือข่าย คณะกรรมการผู้นำชุมชน เป็นผู้บริหารจัดการดูแลกิจการตลาดน้ำ พื้นที่สำคัญ 4 แห่ง คือตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำวัดสะพาน และตลาดน้ำวัดจำปา มีการประชุมวางแผนจัดระบบการดำเนิน การของตลาดน้ำและสื่อสารประชาสัมพันธ์โดยจัดกิจกรรมตามประเพณีและเทศกาลของชุมชน เป็นวิถีชีวิตและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบไทย รักษาสภาพแวดล้อม สร้างเสริมความสามัคคีในชุมชนและร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้เป็นเอกลักษณ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเมือง          3. ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนและวีธีการจัดการ พบว่า ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ อากาศ และมลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญ การระบายน้ำเสียลงสู่ลำคลอง การทิ้งขยะมูลฝอยทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง การอพยพย้ายถิ่นเข้าสู่ชุมชนของคนนอกพื้นที่ ทำให้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมเดิมเปลี่ยนไป การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองโรงงาน บ้านจัดสรร ส่งผลต่ออัตลักษณ์และรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน          4. แนวทางป้องกัน แก้ไขและรักษาความเป็นชุมชนเข็มแข็ง พบว่า ทั้งภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน มีความตระหนัก เริ่มรณรงค์ป้องกันด้วยการปลูกฝังความเป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชนแก้ไขด้วยการสร้างจิตสำนึกให้มีความร่วมมือกันของคนในชุมชน ให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชน รักษาด้วยการให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันอนุรักษ์สืบต่อให้เป็นจุดแข็งในการพัฒนาต่อไป           The objective of this study were 1) to study community empowerment of floating market community in Taling Chan District, Bangkok Metropolitan and 2) to study process and forms of social capital and cultural capital 3) to examine challenges and obstacles in the   process and ways to overcome them 4) to present guidelines for preventing problems and maintaining the community empowerment of the floating market community in Taling Chan district, Bangkok Metropolitan. This research was a qualitative study which a researcher reviewed documents and went to the field to collect data. The data was collected through an in-depth interview, focus group discussions as well as observations. Thirty-one participants who were 1) the leader of network committee, 2) community leaders, 3) monks, 4) representatives from government, 5) representatives from private sectors, 6) representatives from the civil society sector, 7) elders, 8) government officers, 9) tourists, and residents in the area were participants in this study. The main data collection technique was a semi-structured interview. The data was collected for 7 months from May 2018 to November 2018.          This study reports that           1. The community empowerment of the floating market community in Taling Chan district, Bangkok Metropolitan has a long history and it has been maintained for since Ayutthaya period. It was the area which troops and people were moved pass since King Uthong dynasty and was the old capital city in the reign of King Taaksin the great. There were a number of canals and old religious sites. Various ethnic groups of people have settled in the area. The marked tradition include ChakPhra, Boat racing competition, Making a mysterious principle (perform ceremony for encouragement) for rice were organized every year. In addition, four floating markets have become landmarks and destination for tourists. Orchards and flowers gardens which are close to the city be counted as social capital and cultural capital. Presently, Taling Chan district is one of fifty Bangkok metropolitan districts. The traditional ways of life of people living in the area can still be seen today. Most of people and residents are farmers (agriculturists). Water ways such as canals are commonly used for everyday routes and transportation.          2. The process and forms of social capital and cultural capital: It has been found that there were an establishment of the network committee which has a management team working a responsibility in running the four floating markets - Taling Chan, Klong Ladmayom, Wat Saphan and Wat Champa. The team has regularly called for meeting to discuss plans and management system. Moreover, fairs traditional activities, community festivals are promoted as part of a way of Thai way of life. The community has promoted ecotourism, encouraged people to protect environment, maintain harmony and cooperation as well as help develop their community to ensure the identity of the area during the changes in community.          3. Challenges and obstacles in the process and ways to overcome: It has been reported in this study that the effects of natural changes, air and water pollution are main problems. Sewerage and disposal of waste into river cause the change in ecosystems. Moreover, immigration from outside could change the ways people live their life and culture. The rapid expansion of urbanization, industrial factory, and housing estate cause the change of community identity and ways of people life.          4. Guidelines for preventing problems and maintaining the community empowerment: It is suggested that the government, private sectors and the civil society is aware of the problems. The community should begin promote the identity of its community and raise awareness of cooperation to help develop and strengthen their community.

Downloads