ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการออกหมายจับ

Authors

  • มนต์ชัย เหลืองประเสริฐ
  • สอาด หอมมณี
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

เสรีภาพ, หมายจับ

Abstract

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาถึงหลักกฎหมายในการคุ้มครองและการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งจะต้องเป็นผู้ถูกออกหมายจับตลอดจนหลักการเพิกถอนหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมาย ระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการออกหมายจับและการเพิกถอนหมายจับ          ผลจากการศึกษาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวข้องกับ การออกหมายจับและการเพิกถอนหมายจับในเบื้องต้นจะพบว่า การออกหมายจับผู้ต้องหามีอัตราโทษทางอาญาเกินสามปีขึ้นไปและไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1) เป็นเหตุให้ศาลพิจารณาออกหมายจับได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าบุคคลนั้น มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ตลอดจนการออกหมายจับเมื่อผู้ต้องหาไม่มาตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวน กรณีมีอัตราโทษทางอาญาไม่เกินสามปี อีกทั้งการเพิกถอนหมายจับกรณีผู้ต้องหาถูกสั่งไม่ฟ้องโดยพนักงานอัยการ กรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งคดี มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีและผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีนั้นยังมิได้ถูกจับกุมตามหมายจับตามกฎหมายมิได้กำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินการเพิกถอนหมายจับอย่างชัดเจน เป็นปัญหาส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน          ข้อเสนอแนะเห็นควรปรับปรุงแก้ไขเหตุความร้ายแรงของความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1) จากเดิมที่มีการกำหนดอยู่ที่ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี เปลี่ยนเป็นการกำหนดฐานความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะ และเห็นควรกำหนดวิธีการติดตามผู้ต้องหาตลอดจนการส่งหมายเรียกผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน ในกรณีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี และเสนอแนะให้การเพิกถอนหมายจับควรเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้ร้องขอออกหมายจับ เพื่อสอดคล้องกับหลัก “บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย”           The objectives of this Thesis were to study legal principles in protecting and limiting liberties of individuals, who were to be subject to arrest warrants, as well as principles of revocation of the arrest warrants under the Criminal Procedure Code, by studying legal measures of Thailand in comparison with those of foreign countries, as to be approaches to solving problems with respect to issuance of the arrest warrants and revocation of the arrest warrants.          The study of the Criminal Procedure Code with respect to issuance of the arrest warrants and revocation of the arrest warrants at the preliminary stage finds that, to issue the arrest warrants, the suspects must be alleged to have committed criminal offenses, which are subject to imprisonment of at least three years, and the suspects do not pose circumstances of evasion, when there is evidence that any individual is likely to have committed a criminal offense, which is subject to the maximum imprisonment term of over three years, under the Criminal Procedure Code, Section 66 (1), it is a justifiable reason for the Court to issue an arrest warrant regardless of whether or not the individual poses any circumstances of evasion or is likely to tamper with the evidence or cause otherwise danger, as well as issuance of the arrest warrants, in cases of criminal punishments lesser that imprisonment of three years, and revocation of the arrest warrants, in cases where the suspects are not indicted by the Public Prosecutors, cases where the officials with the power to order the cases have final orders not to indict the suspects, and the suspects under the arrest warrants in the cases have not been arrested under the arrest warrants, the law does not clearly provide for any official to proceed with revocation of the arrest warrants, causing problems affecting liberties of the people.          Recommendations find it is suitable for amending the gravity of the offenses under the Criminal Procedure Code, Section 66 (1), from the original prescription against the  offenses, whose maximum imprisonment terms exceed three years, to prescription against specific serious offenses, and it is suitable for prescribing methods of apprehension of the  suspects as well as the Inquiry Officials' service of writs of summons to the suspect, in cases of offenses, whose maximum imprisonment terms do not exceed three years, and the  Author proposes to allocate authority of and responsibility for revocation of the arrest warrant to be vested in the Inquiry Officials, who requested for issuance the arrest warrants,  in order to be consistent with the universal principle that “an individual, who is alleged to have committed a criminal offense, is entitled to the right to presumption of innocence,  until the individual is proven beyond reasonable doubt to have actually committed the offense.”

Downloads