ปัญหาในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วยในเรือนจำ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560

Authors

  • ธนัชพร วัฒนสุชาติ
  • ประกอบ ประพันธ์เนติวุฒิ
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

ผู้ต้องขังป่วย, เรือนจำ

Abstract

          งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมาย รวมถึงปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วยตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 โดยทำการศึกษาบทบัญญัติและมาตรการบังคับใช้รวมถึงกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว และนำมาวิเคราะห์ ตลอดจนเสนอแนะปรับปรุงเพื่อให้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วยในเรือนจำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้บังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังป่วยในเรือนจำได้          ผลจากการศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วย มาตรา 21 มาตรา 54 และมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 พบว่า มีปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านโภชนาการของผู้ต้องขังป่วย ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงการจัดอาหารสำหรับผู้ต้องขังป่วยไว้โดยเฉพาะ ทำให้ผู้ต้องขังป่วยไม่ได้รับสิทธิดังที่ควรจะได้รับ และปัญหาการใช้เครื่องพันธนาการต่อผู้ต้องขังป่วย ซึ่งส่งกระทบต่อสุขภาพจิตและสุข ภาพของผู้ต้องขังป่วย รวมถึงปัญหามาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ขังป่วยในการรักษา พยาบาลด้านบุคลากรทางการแพทย์ โดยปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ผู้ต้องขังป่วยไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ เห็นควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วยในเรือนจำเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในส่วนนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น           ข้อเสนอแนะจากการศึกษาเห็นว่า จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิด้านโภชนาการของผู้ต้องขังป่วย ให้มีการได้รับอาหารตามหลักโภชนาการดังเช่นผู้ป่วยทั่วไป โดยเห็นควรปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ในหมวดสุขอนามัยของผู้ต้องขัง และแก้ไขมาตรา 21 ในเรื่องการใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขังซึ่งเจ็บป่วยรวมถึงกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเครื่องพันธนาการและหลักเกณฑ์การใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 54 ให้มีสถานพยาบาลและจัดให้มีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์อย่างน้อยหนึ่งคน และพยาบาลหรือผู้ช่วยแพทย์อย่างน้อยหนึ่งคนอยู่ปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำที่สถานพยาบาลนั้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยได้รับบริการทางการแพทย์โดยไม่ชักช้าและเพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น            Objectives of this Thesis are to study concepts, theories, legal principles and obstacles relating to treatment for inmate-patients under Penitentiary Act, B.E. 2560 (2017), by studying provisions and applicable measures, as well as Ministerial Regulations relating to the said Act, and analyzing them, and to recommend amendments, in order that the law concerning treatment for inmate-patients in the prison, which is currently effective, shall be efficiently applied, as to be able to protection rights of the inmate-patients in the prison.            The study of the legal principles concerning treatment for the inmate-patients, Section 21, Section 54 and Section 57, Penitentiary Act, B.E. 2560 (2017), finds that there are problems with access to the basic rights to food of the inmate-patients, whereas the said Act does not provide with preparation of food specifically for the inmate-patients, resulting in the inmate-patients being deprived of the due rights, and problems with use of restraining equipment on the inmate-patients, affecting mental health and physical health of the inmate-patients, as well as problems with standard treatment for the inmate-patients healthcare, with respect to medical personnel, whereby the said problems result in the inmate-patients not receiving efficient healthcare. The Author finds suitable for amending the law in parts concerning treatment for the inmate-patients in the prison, in order that application of the law in these parts shall be more efficient.             Recommendations of this study are to amend the law in the parts concerning access to the rights to food of the inmate-patients, in order that they shall receive food with nutritional significance similar to ordinary patients, whereby the Author finds suitable for amending Penitentiary Act, B.E. 2560 (2017), Section 57, in the part of health of the inmates, and amending Section 21, in the part of use of restraining equipment on the inmate-patients, as well as the Regulation of the Ministry of Interior Regarding Requirement of Restraining Equipment and Criteria for Use of Restraining Equipment on Inmates, B.E. 2560 (2017), and amending provisions of Section 54, as to arrange a medical establishment, with at least one specialized physician, and at least a nurse or physician assistant, regularly on duty at the medical establishment, in order that the inmate-patients shall receive healthcare in timely manners, and the law is more efficiently applied.

Downloads